Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80546
Title: การศึกษาปริมาณและชนิดของไมโครพลาสติกในกุ้งเคยสกุล Acetes และกลุ่ม Mysid ในบริเวณอ่าวไทยตอนบน
Other Titles: A study on the quantity and types of microplastics in Acetes and Mysid in the upper Gulf of Thailand
Authors: พิชชา กันต์ธนะเดชา
Advisors: อิชฌิกา ศิวายพราหมณ์
ชวลิต เจริญพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ไมโครพลาสติก
กุ้งเคย
Microplastics
Krill
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไมโครพลาสติกหรืออนุภาคพลาสติกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร มีแนวโน้ม ปนเปื้อนใน แหล่งน้ำมากขึ้นและมีความเสี่ยงต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยเฉพาะกลุ่มที่กรองกินอาหารจากในมวลน้ำ เช่น กลุ่มกุ้งเคยซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ทำกะปิและเป็นอาหารของมนุษย์ อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีรายงานระดับการ ปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในกุ้งเคยมาก่อน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณและชนิดของ ไมโครพลาสติกที่พบในกุ้งเคยสกุล Acetes และกลุ่ม Mysid ในบริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยเก็บตัวอย่างกุ้งเคย จากการประมงในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน นำมาจำแนกชนิดและเพศ จากนั้นนำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาไมโคร พลาสติกโดยจำแนกสีและนับจำนวนด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ และนำตัวอย่างบางส่วนไปวิเคราะห์หาชนิด ของไมโครพลาสติกที่ด้วยเทคนิค Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) ผลการศึกษาพบ ปริมาณของ ไมโครพลาสติกในกุ้งเคย Acetes japonicus เฉลี่ย 0.92±0.11 ชิ้นต่อตัว และกลุ่ม Mysid 1.03 ชิ้นต่อตัว ปริมาณไมโครพลาสติกที่พบใน A. japonicus ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างเพศและเดือนที่ ศึกษา ไมโครพลาสติกที่พบใน A. japonicus ส่วนใหญ่มีสีฟ้า (62%) และเขียว (27%) ส่วนที่พบใน Mysid เป็นสีฟ้า (37%) เขียว (18%) และเหลือง (11%) โดยชนิดของไมโครพลาสติกที่พบในกุ้งเคย A. japonicus และกลุ่ม Mysid ส่วนใหญ่เป็น polyamide (77%) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเครื่องมือประมง รองลงมาคือ polyester (15%) ในเสื้อผ้าสิ่งทอ และ polyethylene (8%) ซึ่งใช้ทำบรรจุภัณฑ์ มนุษย์จึงมีความเสี่ยงที่ อาจจะได้รับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายผ่านการกินอาหารที่มีกุ้งเคยเป็นวัตถุดิบ
Other Abstract: Microplastics or plastic particles with a diameter less than 5 mm can be found in aquatic environments at an increasing rate. They can be taken up by organisms especially filter feeders including paste shrimps which are ingredients for many food items for human consumption. However, the degree of microplastic contamination in paste shrimps has never been reported before. This study aims to determine the quantity and types of microplastics in Acetes and Mysid in the upper Gulf of Thailand. Samples were collected from paste shrimps fisheries in the upper Gulf of Thailand. These samples were then determined for their sexes and identified to species before microplastic extraction and analysis. Color and number of microplastics were enumerated by using a stereomicroscope and some of these items were analyzed by Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) to determine the plastic types. The results showed that average number of microplastic found in Acetes japonicus was 0.92 ± 0.11 particles per individual and in Mysid was 1.03 particles per individual. The microplastics found in A. japonicus were not statistically different between sexes and among the study months. The microplastics found in A. japonicus were mostly blue (62%) and green (27%), whereas those found in Mysid were blue (37%), green (18%), and yellow (11%), respectively. The types of microplastics found in both paste shrimps were composed of polyamide (77%) which is a component of fishery tools, polyester (15%) from garments and textiles, and polyethylene (8%) which is used for packaging, respectively. Humans are therefore exposed to the risk of ingestion of microplastics through eating food containing shrimp paste.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80546
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MARINE-005 - Pitcha Kanthanadaechar.pdf45.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.