Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8077
Title: ประสิทธิภาพของการใช้ยาเฮปารินขนาด 80 หน่วยต่อน้ำหนักตัวเปรียบเทียบกับขนาด 100 หน่วยต่อน้ำหนักตัวในขณะทำหัตถการกับหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีแบบไม่รีบด่วนของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Efficacy of 80 U/KG in comparison with 100 U/KG of unfractionated heparin during elective percutaneous coronary intervention in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: สุวรา โสมะบุตร์
Advisors: สุรพันธ์ สิทธิสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Surapun.S@Chula.ac.th
Subjects: เฮปาริน
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา เฮปารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่นิยมนำมาใช้ในการทำหัตถการกับหลอดเลือดหัวใจเพื่อป้องกันการเกิดการตีบตันซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งจากการศึกษาในต่างประเทศ /1/ ที่ผ่านมาพบว่าขนาดของยาเฮปารินที่แนะนำ 70 100 หน่วยต่อน้ำหนักตัวเพื่อให้ได้ค่าเอซีทีที่เหมาะสมคือ > 300 วินาที และ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะภาวะเลือดออกผิดปกติพบ 8% โดยขึ้นกับขนาดของยาที่ให้ และในประเทศไทยยังไม่เคยมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของยาและภาวะแทรกซ้อนมาก่อน ซึ่งจากการสังเกตการทำหัตถการนี้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วงปี 2548 พบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนประมาณ 14% วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาเฮปารินขนาด 100 หน่วยต่อน้ำหนักตัวกับขนาด 80 หน่วยต่อน้ำหนักตัวในผู้ป่วยที่มาทำหัตถการกับหลอดเลือดหัวใจแบบไม่รีบด่วนที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา ผู้ป่วยที่มาทำหัตถการกับหลอดเลือดหัวใจแบบไม่รีบด่วนที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 306 คน และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ยาเฮปารินขนาด 100 หน่วยต่อน้ำหนักตัว และกลุ่มที่ 2 ให้ยาเฮปารินขนาด 80 หน่วยต่อน้ำหนักตัว หลังจากนั้นจะมีการเจาะเลือดเพื่อดูค่าเอซีทีทั้งก่อนและหลังการใช้ยาเฮปารินที่ 5 นาที และมีการเฝ้าติดตามดูภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มเกิดผลลัพธ์รวมทางคลินิกและค่าเอซีที โดยมีค่าเอซีทีเฉลี่ย 358 วินาที และ 338 วินาที ในกลุ่มที่ได้ยาเฮปารินขนาด 100 และ 80 หน่วยต่อน้ำหนักตัวตามลำดับ ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.061) และการประสบความสำเร็จต่อการทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นพบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.001) สรุปผลการศึกษา การใช้ยาเฮปารินในขนาด 80 หน่วยต่อน้ำหนักตัวมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้ยาเฮปารินขนาด 100 หน่วยต่อน้ำหนักตัวในผู้ป่วยที่มาทำหัตถการกับหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบบไม่รีบด่วน ซึ่งยาเฮปารินขนาด 80 หน่วยต่อน้ำหนักตัวอาจจะเป็นขนาดยาที่เหมาะสมกับคนไทยในอนาคต
Other Abstract: Background Unfractionated heparin (UH) is the primary anticoagulant administered prior to percutaneous coronary intervention (PCI) to prevent the generation of thrombin at the site of balloon-induced arterial injury. Previous studies mostly from abroad found that the use of UFH in the dose range of 70-100 u/kg resulted in activated clotting time (ACT) > 300 seconds. The hemorrhagic complications was found to be in the range 0f 8% [1]. This seem to be dose related. The efficacy and complications of UFH usage had not been reported in Thai population. The purpose of this study was to evaluate efficacy and complication of the group receiving UFH 100 U/Kg in comparison with 80 U/Kg. Methods The study population consisted of 306 patients who underwent elecitive PCI, of which 153 patients in each group treated with UFH 100 u/kg and 80 u/kg. Blood specimen were collected at 0.5 mins after UFH administration. Results The median ACT after usage UFH at 5 min were 358 and 338 seconds respectively and the results were no statistically significant (p = 0.061). But the complications in UFH 100 u/kg and 80 u/kg were significantly different (p = 0.001) Conclusion The finding suggested that patients who underwent elective percutaneous coronary intervention receiving UFH 80 u/kg had achieved the same efficacy as the group receiving UFH 100 u/kg and less complications were found the group of UFH 80 u/kg. In future the optimal dose of UFH in elective percutaneous coronary intervention could probably be 80 u/kg in Thai population.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8077
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1437
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1437
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwara_So.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.