Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80808
Title: ความแม่นยำของการประมาณสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกจากข้อมูลโพรบ
Other Titles: Accuracy of turning movement ratio estimation from probe
Authors: กันฑ์อเนก มกรพงศ์
Advisors: สรวิศ นฤปิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยก คือ การนับปริมาณการจราจรของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ณ ทางแยก โดยข้อมูลจราจรเหล่านี้ได้จากการเก็บข้อมูล ซึ่งแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ การเก็บข้อมูลโดยมนุษย์ ซึ่งมีความแม่นยำในระดับที่มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง แต่จะสามารถเก็บได้เพียงแค่ 1 วัน ใน 1 ปี ในแต่ละทางแยก นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลอีกประเภท คือ การเก็บข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งตามยานพาหนะ หรือเรียกว่า โพรบ ข้อมูลที่ได้จากโพรบจะเป็นข้อมูลจำนวนนับรถซึ่งเป็นข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากจำนวนรถที่ของข้อมูลทั้งสองมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก อาจจะไม่สามารถเปรียบเทียบความแม่นยำได้ ดังนั้น สิ่งที่น่าสนใจในงานวิจัยนี้ คือ เมื่อแปลงปริมาณรถที่ได้จากการนับรถจริงและข้อมูลจำนวนนับรถที่ได้จากโพรบ สัดส่วนข้อมูลจำนวนนับรถที่ได้จากโพรบจะสามารถเป็นตัวแทนสัดส่วนที่ได้จากการนับรถจริงหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางในแต่ละช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเร่งด่วนเช้า นอกเวลาเร่งด่วน และช่วงเร่งด่วนเย็น ซึ่งมีทั้งหมด 11 ทางแยก นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกโดยใช้ข้อมูลสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกใน 1 ชั่วโมง และข้อมูลสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกที่สะสมเป็นจำนวน 2 ชั่วโมง จากผลการศึกษา พบว่า ความแม่นยำจากการเปรียบเทียบสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกโดยการประมาณการ จะมีความแม่นยำสูงในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน และ เร่งด่วนเย็น โดยข้อมูลที่เหมาะสมจะใช้งานในด้านวิศวกรรมจราจร คือ ข้อมูลจราจรที่มีการสะสมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เมื่อนำสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกที่ได้จากข้อมูลโพรบไปใช้ในการตั้งสัญญาณไฟจราจรในช่วงเวลาดังกล่าว พบว่ามีความแม่นยำประมาณร้อยละ 70 ถึงร้อยละ 80 เป็นส่วนใหญ่
Other Abstract: Intersection turning movement is a count of vehicles moving in different directions at intersections. this study aims to explore if the data obtain from probe is able to represent the proportion obtain from the actual traffic volume. The difference in the proportion of traffic by direction at different times, including the morning rush hour, off-peak hour and evening rush hour at 11 intersections were compared. Additionally,  differences in the proportion of traffic in the direction of the intersection using data on the proportion of traffic in the direction of the intersection for 1 hour and the proportion of traffic in the direction of the junction accumulated for 2 hours. The result shows that the accuracy of comparing the proportion of traffic in the direction of the intersection is highly accurate during the off-peak and evening rush periods. The appropriate data can be used in traffic engineering is the traffic data accumulated for 2 hours. It was found that there are about 70 percent to 80 percent of accuracy mostly when the proportion of traffic volume of each direction of intersection obtained from the probe data is used to set traffic lights during that period.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80808
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.912
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.912
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170435621.pdf10 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.