Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81004
Title: | สุขภาพจิตระหว่างการระบาดโควิด-19 ของพนักงานบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่ง |
Other Titles: | Mental health during epidermic of Covid-19 study in one of fast-moving consumer goods business employees |
Authors: | ภัทรรัตน์ แต้มโคกสูง |
Advisors: | รัศมน กัลยาศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพจิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตของพนักงานบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่ง ระหว่างการระบาดของโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 127 คน โดยส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังพนักงานบริษัทแห่งนี้ที่มีลักษณะตามเกณฑ์การคัดเข้า และได้รับชุดข้อมูลตอบกลับที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 124 ชุด คิดเป็นร้อยละ 97.64 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยข้อมูลที่ได้รับเก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถามทั้งหมด 3 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยด้านการทำงาน แบบสอบถามความสุขใจในการทำงาน และแบบสอบถามวัดภาวะสุขภาพจิต 3 ด้าน (DASS-21) คือ ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact test, Pearson’s correlation, และ Logistic regression เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตของพนักงานบริษัทแห่งนี้ และตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 124 คน พบว่า พนักงานบริษัทแห่งนี้มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติ โดยที่หนึ่งในสามของกลุ่มตัวอย่างเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพจิตในทุกระดับ ได้แก่ ภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 30.6 ภาวะซึมเศร้าร้อยละ 29.0 และความเครียด 25.8 สำหรับการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิต พบว่าเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อารมณ์และความรู้สึกต่อสถานการณ์โควิด-19 การทำงาน ความสุขใจในการทำงาน ความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายของครอบครัว ความต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตหรือจิตแพทย์ และการใช้ยานอนหลับในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 เช่น ความรู้สึกสิ้นหวัง ความรู้สึกหดหู่ ความรู้สึกโกรธ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น มีความพึงพอใจในระดับต่ำเกี่ยวกับการประเมินผลงานในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีความพึงพอใจระดับต่ำต่อความรับผิดชอบที่ได้รับในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีความสุขใจในการทำงานต่ำ และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนในการทำนาย เช่น เคยใช้ยานอนหลับในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลได้ ส่วนการแสวงหาหรือต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตหรือจิตแพทย์สามารถทำนายความเครียดได้ ผลจากการศึกษานี้จะช่วยให้พนักงานที่ทำงานที่บ้านรวมถึงหัวหน้างานได้ตระหนักถึงผลกระทบทางสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 |
Other Abstract: | A cross-sectional descriptive study was applied to investigate employees' mental health and factors that were related to their mental health during the Covid-19 pandemic. Participants were employees of a fast-moving consumer goods business in Bangkok. Authors sent online questionnaires to 127 employees following the inclusion criteria. The complete data from 124 employees (97.67%) were analyzed further. We collected data during June – July 2022. The questionnaires included 3 parts; demographic data and information about work, happiness at work scale, and Depression Anxiety Stress Scale (DASS-21). The descriptive statistic was performed to explain factors, e.g., numbers, percentage, mean, standard deviation, min, max. Chi-square test, Fisher’s exact test, Pearson’s correlation, and Logistic regression examined the association between factors that were associated with mental health issues. A 124-complete data were applied to the study. Most of the employees had a normal level of mental health. However, mental health issues of approximately one-third of them were detected including anxiety (30.6%), depression (29.0%), and stress (25.8%). The relevant factors with mental health were the emotional factors, working, happiness at work, responsibility for family expenses, help from mental health professionals, and using sleeping pills during the past 1 year. The predictors of mental health issues were significantly associated with the emotional factors, e.g., despair, dismal feelings, angry feeling, the working factors, e.g., low satisfaction with the previous year's performance appraisal, responsible for assigning, and happiness at work. Additionally, using sleeping pills during the past 1 year can predict anxiety and depression, however, requesting help from mental health professionals can predict stress. Thus, employees who work at home should pay attention to mental health. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81004 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1085 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.1085 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6370038230.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.