Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82227
Title: นวัตกรรมการประเมินความพร้อมทางการตลาดของผู้ประกอบการยุคดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย
Other Titles: Innovation of digitalize entrepreneurial marketing readiness assessment for Small and Medium Enterprises in Thailand
Authors: พงศกร พิชยดนย์
Advisors: ดนุพล หุ่นโสภณ
อัจฉรา จันทร์ฉาย
ศิพัตม์ ไตรอุโฆษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ระบบเศรษฐกิจโลกกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้ระบบธุรกิจต้องปรับตัวในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่เมื่อพิจารณาถึงความพร้อมของวิสาหกิจเหล่านี้ให้การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นก็ยังพบว่ามีข้ออุปสรรคเมื่อต้องเผชิญกับประสิทธิภาพทางการตลาดเมื่อต้องเข้าสู่ตลาดสากล ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจากผลการศึกษาในอดีต พบว่าจากความล้มเหลวทางธุรกิจนั้น  มีสาเหตุหลักมาจากความไม่พร้อมทางการตลาดและการดำเนินงานทางการตลาดที่ผิดพลาดของผู้ประกอบการ จึงนำไปสู่การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมนี้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์และระยะของการศึกษา 5  ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัดและแบบจำลองการประเมินความพร้อมทางการตลาดผู้ประกอบการโดยทำการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 ผู้วิจัยทำการทดสอบความเที่ยงของตัวชี้วัดและทดสอบแบบจำลองจากการเก็บข้อมูลจากวิสาหกิจจำนวนทั้งสิ้น 500 ราย ผลการศึกษาพบว่า มีองค์ประกอบซึ่งเป็นปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1. ความเป็นผู้ประกอบการ 2. ด้านการจัดการกลยุทธ์เพื่อรองรับความพร้อมทางดิจิทัล ความมีนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ และ 3. ด้านการดำเนินงานทางการตลาดและการจัดการแบรนด์ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบซึ่งมีตัวชี้วัดย่อย 23 ตัวชี้วัดนี้ส่งผลถึงระดับความพร้อมทางการตลาดของวิสาหกิจ ในส่วนของระยะที่ 3 นั้น ผู้วิจัยนำแบบจำลองที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงแล้วมาทำการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความพร้อมทางการตลาดผู้ประกอบการโดยการนำตัวชี้วัดที่ได้มาพัฒนาให้สามารถประเมินศักยภาพทางการตลาดของผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของการเรียนรู้แบบมีผู้สอน (Supervised Learning) ในระยะที่ 4 นั้น ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบการยอมรับนวัตกรรมจากกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและภาคธนาคารจำนวน 5 ราย และวิสาหกิจจำนวน 25 ราย ผลการศึกษาพบว่ามีการยอมรับ เห็นถึงประโยชน์และมีความสนใจนำระบบนวัตกรรมนี้ไปใช้งาน ดังนั้นในการศึกษาระยะที่ 5 จึงทำการศึกษาการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยศึกษาในมิติของการวิเคราะห์อุตสาหกรรม ความคุ้มค่าในการลงทุน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมไปถึงแผนการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ นวัตกรรมการประเมินความพร้อมทางการตลาดของผู้ประกอบการในรูปแบบซอฟท์แวร์นี้ มีประสิทธิภาพในการประเมินระดับความพร้อมทางการตลาดของผู้ประกอบการในแง่มุมต่างๆ พร้อมทั้งสามารถแสดงรายงานในภาพรวมของความพร้อมทางการตลาดยุคดิจิทัลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ซึ่งวิสาหกิจสามารถนำซอฟท์แวร์นี้ไปใช้ในการประเมินความพร้อมทางการตลาดผู้ประกอบการของตนเอง หน่วยงานของรัฐซึ่งดูแล สนับสนุนกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถนำไปใช้ในการประกอบการให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจเหล่านี้ได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศ เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในระดับโลกเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป
Other Abstract: Presently Thailand is entering the era of digital economy which is crucial as the global economy is being driven by digital technology. As a result, business systems specially small and medium enterprises are required to adjust in many dimensions in order to keep up and be competitive. However, considering the readiness of these enterprises to enter the digital economy, there are many obstacles regarding marketing performance to enter the international markets. This is one of the important factors that affect the success of small and medium enterprises. Previous studies found that failure of businesses are due to the lack of market readiness and poor marketing practices of entrepreneurs. Hence, innovation in this area is of interest to be studied and developed. In this study there are 5 stages to be focused. The first stage is to study and develop indicators and models for assessing entrepreneurial marketing readiness by performing literature reviews and expert interviews. In Stage 2, the researcher tested the reliability of the indicators and tested the models from 500 enterprises samples.  Study results showed that there are three main components such as: 1.Entrepreneurship 2. Strategic management for digital readiness, Innovation and use of technology in business; and 3. Marketing and brand management. The three components, which are composed of 23 sub indicators, affect the marketing readiness level of the enterprise. In stage 3, the researcher adopted a model that has been tested for reliability and then developed an innovative tool for the assessment of entrepreneurial marketing readiness by applying the concept of supervised learning. In stage 4, the researcher tested the acceptance of innovation from the target group. The target group consisted of 5 government agencies and banking sector and 25 enterprises. The benefits of using this innovative system was well perceived by target group. Therefore, in stage 5 studies on the commercial usefulness and value was performed on the dimension of industrial analysis, value for investment and target customers including intellectual property management. This Innovative tool for evaluating entrepreneurial marketing readiness in the form of software has the ability to efficiently assess the level of market readiness of entrepreneurs in various aspects. The report also provides an overview of the digital marketing readiness of small and medium enterprises in Thailand. Enterprises can use this software to assess their own market readiness. Government agencies which aim in supporting small and medium enterprises can utilize this software for mentoring to promote better capability of these enterprises. This will benefit the overall picture of the national economy and at the same time strengthen the competitiveness of small and medium enterprises in Thailand to assist in the transition of the digital economy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82227
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.880
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.880
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787791120.pdf11.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.