Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82524
Title: | สุขภาพจิต การเผชิญจากความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และการฟื้นพลังของนักบินพาณิชย์สายการบินในไทย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 |
Other Titles: | Mental health, coping mechanism, social support, and resilience of commercial pilots in Thailand during the period of COVID-19 situation |
Authors: | ชัชวาล ตันติสัตตโม |
Advisors: | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาสุขภาพจิต การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และการฟื้นคืนพลังของนักบินพาณิชย์ในประเทศไทย รวมถึงความเกี่ยวข้องกันของสุขภาพจิตและปัจจัยดังกล่าวข้างต้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักบินพาณิชย์สายการบินไทยแอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์จำนวน 380 คน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2565 โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถามด้วยตัวเองออนไลน์ผ่าน Google form โดยมีคำถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามข้อมูลด้านการทำงาน 3) แบบสอบถามผลกระทบที่นักบินพาณิชย์ได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 4) แบบสอบถามการเผชิญความเครียด 5) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบประเมินการฟื้นคืนพลัง นำเสนอเป็นค่าเฉลี่ยน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายสุขภาพจิตที่ผิดปกติของนักบินพาณิชย์สายการบินไทยแอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา พบว่านักบินพาณิชย์สายการบินไทยแอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ส่วนใหญ่(ร้อยละ 53.2) มีสุขภาพจิตผิดปกติในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเท่ากับ 6.59±6.93 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตผิดปกติ ได้แก่สถานภาพโสด หย่าร้าง หม้าย(p<0.05) รายได้โดยประมาณที่ลดลงระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19(p<0.01) ภาระหนี้สิน(p<0.01) การมีโรคทางจิตเวช(p<0.01) สังกัดสายการบินไทยแอร์เอเชียเอ๊กซ์(p<0.01) ได้รับผลกระทบโดยรวม(p<0.01) ได้รับผลกระทบด้านครอบครัว(p<0.001) ได้ผลกระทบด้านสัมพันธภาพ(<0.001) ได้ผลกระทบด้านการประกอบกิจวัตรประจำวัน(p<0.01) ได้รับผลกระทบด้านการทำงานและการประกอบอาชีพ(p<0.01) ได้รับผลกระทบด้านการเงินและเศรษฐกิจ(p<0.01) ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพและสุขภาวะ(p<0.01) มีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการอารมณ์ปานกลางถึงสูง(p<0.01) การสนับสนุนทางสังคมด้านทรัพยากรและวัตถุต่ำ(p<0.01) การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมต่ำ(p<0.05) การฟื้นคืนพลังด้านความทนต่อแรงกดดันต่ำ(p<0.01) การฟื้นคืนพลังด้านการมีความหวังและกำลังใจต่ำ(p<0.01) การฟื้นคืนพลังด้านการต่อสู้เอาชนะอุปสรรคต่ำ(p<0.01) และการฟื้นคืนพลังโดยรวมต่ำ(p<0.01) สรุปผลการศึกษา พบปัจจัยสัมพันธ์ที่เป็นปัจจัยทำนายกับสุขภาพจิตผิดปกติได้แก่ ภาระหนี้สิน การสังกัดสายการบินไทยแอร์เอเชียเอ๊กซ์ ได้ผลกระทบด้านการประกอบกิจวัตรประจำวันระดับปานกลางถึงสูง มีเผชิญความเครียดด้านการจัดการอารมณ์ในระดับปานกลางถึงสูง ได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านทรัพยากรและวัตถุต่ำ มีการฟื้นคืนพลังด้านความทนต่อแรงกดดันต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ และการฟื้นคืนพลังด้านการมีความหวังและกำลังใจต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ |
Other Abstract: | Objectives: We aimed to investigate mental health, coping mechanisms, social support, resilience, and the related factors among commercial pilots during the COVID-19 pandemic. The data were collected from 380 commercial pilots in Thailand, including Thai AirAsia and Thai AirAsia X, between May to September 2022. Google form was applied to the collecting data from all samples. We collected a questionnaire from 7 parts including 1) Demographic data, 2) Work information, 3) Negative effects of Covid-19 among commercial pilots 4) Coping strategy 5) Social Support 6) Resilience, and 7) Mental health. Data were reported by the number, percentage, mean, minimum, maximum, and standard deviation (SD). Chi-square and Fisher’s exact test were applied to examine the factors related to commercial pilots’ mental health and logistic regression was used to investigate the predictors of the pilots’ mental health. Statistical significance was established at less than 0.05. The result found the sample of commercial pilots in the current study had abnormal mental health during the COVID-19 epidemic (53.2%). Their mean on mental health was 6.59±6.93. The results showed a variety of related factors to abnormal mental health; single/divorced/widowed (p<0.05), lower income after the COVID-19 epidemic (p<0.01), having in debt (p<0.01), having psychiatric disorders (p<0.01), work for Thai AirAsia X (p<0.01), Overall effect from COVID-19 epidemic (p<0.01), affected on family (p<0.01), affected on the relationship (p=0.01), affected on routine activities (p<0.01), affected on work and career (p<0.01), affected on financial & Economic (p<0.01), affected on health (p<0.01), medium to high levels of emotionally focused coping (p<0.01), low level of social support (resource and material) (p<0,01), low levels of overall social support (p=0.05), low levels of resilience (withstand pressure) (p<0.01), low levels of resilience (hope and encouragement) (p<0.01), low levels of resilience (overcome obstacles) (p<0.01), and low levels of overall resilience (p<0.01). The predictor of abnormal mental health; having in debt (p<0.01), work for Thai AirAsia X (p<0.01), affected on routine activities (p<0.01), medium to high levels of emotionally focused coping (p<0.01), low level of social support (resource and material) (p<0,01), low levels of resilience (withstand pressure) (p<0.01) and low levels of resilience (hope and encouragement) (p<0.01). Conclusion: The predictors and factors that related to their abnormal mental health were having in debt, working for Thai AirAsia X, medium to a high level of affected by routine activity, medium to a high level of emotionally focused coping, low level of social support (resource and material), low level of resilience (withstand pressure), and low level of resilience (hope and encouragement). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82524 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.971 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.971 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6470016530.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.