Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82565
Title: | ภาวะหมดไฟในการทำงานในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ |
Other Titles: | Burnout syndrome among medical personnel involved in care of patients with neurological conditions at a tertiary care hospital in Bangkok metropolis |
Authors: | อัญชลี เลิศมิ่งชัยมงคล |
Advisors: | ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นการศึกษาเพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท จำนวน 107 ราย ใช้เครื่องมือในรูปแบบของแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงาน ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน และความไม่มั่นคงในงาน 3) แบบสอบถามความรุนแรงในสถานที่ปฏิบัติงาน 4) แบบสอบถามภาวะหมดไฟ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะหมดไฟระดับสูงอยู่ที่ ร้อยละ 19.6 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟระดับสูง จากการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก ได้แก่ การที่บุคลากรต้องมีหน้าที่ดูแลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (OR = 14.06, 95% CI = 2.80 - 70.68, p value < 0.01) มีการแจ้งหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาจากเหตุความรุนแรงทางวาจา (OR = 4.21, 95% CI = 1.19 - 14.87, p value < 0.05) และการมีความสุขในการทำงาน (OR = 0.20, 95% CI = 0.06 – 0.65, p value < 0.01) สรุปผลการศึกษาพบภาวะหมดไฟในการทำงานระดับสูงในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทมากถึง 1 ใน 5 ของบุคลากรทั้งหมด การให้ความสำคัญในการปรับภาระงานที่เหมาะสม การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานคนอื่นๆด้วยความเคารพ (โดยเฉพาะทางวาจา) และการสนับสนุนส่งเสริมให้การทำงานดำเนินไปอย่างเป็นสุขอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟระดับสูงได้ |
Other Abstract: | A cross-sectional descriptive study was conducted by collecting data from 107 medical personnel currently working with neurological patients to study the prevalence and associated factors of burnout syndrome. Self-administered questionnaires consist of 1) Personal and work-related information 2) Happiness at work and job insecurity questionnaire using to assess level of work happiness and affecting factors of work happiness 3) Workplace violence questionnaire 4) Thai version of Maslach Burnout Inventory. Data were analyzed by descriptive and inferential statistics. Thus, the study showed 19.6% of subjects had a high level of burnout. Using logistic regression analysis, the factors significantly associated with high level of burnout are working with neurological patients in both IPD and OPD settings (OR = 14.06, 95% CI = 2.80 – 70.68, P value < 0.01), reporting verbal violence to a supervisor (OR = 4.21, 95% CI = 1.19 - 14.87, P value < 0.05), and having happiness at work (OR = 0.20, 95% CI = 0.06 – 0.65, P value < 0.01). Nevertheless, almost one-fifth of these participants had high level of burnout. The emphasis on work burden, treating others with respect (especially, verbally), and encouraging work happiness are essential to prevent high burnout. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82565 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.979 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.979 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6470102830.pdf | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.