Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83217
Title: การจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณอ่าวไทยตอนบน 
Other Titles: Simulation of oil spill in Upper Gulf of Thailand
Authors: กิตติยา แย้มภิรมย์ศรี
Advisors: อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สถิติการเกิดน้ำมันรั่วไหลในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของกรมเจ้าท่า พบว่าเกิดน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลอ่าวไทยตอนบนหลายครั้ง โดยมีสาเหตุมาจากเรือขนส่งสินค้า เรือขนถ่ายน้ำมัน เกิดอุบัติเหตุกลางทะเล อันเป็นผลมาจากความชำรุดของอุปกรณ์เดินเรือ หรือสภาพภูมิอากาศที่ไม่ดีต่อการเดินเรือ ยังส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเล และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจำลองการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการคาดการณ์การเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล ประกอบด้วยแบบจำลอง 3 ชนิด คือแบบจำลอง SWAN ใช้ในการจำลองคลื่นที่เกิดจากลม, แบบจำลอง Delft3D ใช้ในการจำลองกระแสน้ำเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นลม และแบบจำลอง GNOME ใช้ในการจำลองการรั่วไหลของน้ำมันในทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน ผลของแบบจำลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การจำลองคลื่นและกระแสน้ำ และการจำลองการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลอ่าวไทยตอนบน ความสูงคลื่นนัยสำคัญเป็นผลที่ได้การจำลองคลื่นด้วยแบบจำลอง SWAN มีการปรับเทียบและสอบทานข้อมูลจากแบบจำลองกับข้อมูลตรวจวัดจากทุ่นสมุทรศาสตร์ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ ในปี พ.ศ.2540 – 2545 ที่สถานีสถานีหัวหิน, สถานีเพชรบุรี และสถานีเกาะสีชัง กระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงและกระแสน้ำสุทธิที่เป็นผลรวมของน้ำขึ้นน้ำลงและคลื่นลมจากแบบจำลอง Delft3D ถูกปรับเทียบและสอบทานโดยใช้ระดับน้ำจากแบบจำลองกับข้อมูลระดับน้ำทำนายของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2549 – 2559  ที่สถานีหัวหิน, สถานีสันดอนเจ้าพระยา, สถานีเกาะสีชัง และสถานีอ่าวสัตหีบ จากการศึกษาคลื่นและกระแสน้ำพบว่ากระแสน้ำที่เป็นอิทธิพลหลักบริเวณอ่าวไทยตอนบนคือกระแสน้ำเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง จึงใช้กระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลงในการศึกษาการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลต่อไป การศึกษาการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลอ่าวไทย ทำการปรับเทียบและสอบทานแบบจำลอง GNOME ด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ในช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2562 พบว่าการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันมีทิศทางสอดคล้องกับทิศทางของลม ในการศึกษานี้ประยุกต์ใช้แบบจำลองโดยการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันในช่วงน้ำเกิดและน้ำตายรายเดือน ทำให้สามารถประมาณช่วงเวลาและตำแหน่งที่น้ำมันเคลื่อนที่กระทบชายฝั่งทะเล และสรุปได้ว่าการเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลมีการเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยของชนิดน้ำมัน, คุณสมบัติการแพร่กระจายของน้ำมัน, ข้อมูลลม และข้อมูลกระแสน้ำในทะเล 
Other Abstract: Statistics of oil spills in Thailand from the past to the present showed that there were several oil spill cases occurred in the Upper Gulf of Thailand. The causes of oil spills were coming from the cargo ships and the oil tankers that got accidents in the sea which were caused by the damage of their equipment or bad climate conditions. This affected to human lives, properties, and the environment, because there were a lot of coastal communities and aquaculture areas in the Upper Gulf of Thailand. The objective of this study is to simulation the oil spill in the Upper Gulf of Thailand by using the numerical models. This simulation consisted of 3 models; the SWAN model for simulating waves caused by wind, the Delft3D model for simulating current that was influenced by tides and waves, and the GNOME model for simulating oil spill trajectories in the sea. The simulation results were divided into two parts: the first part was the simulation of waves and currents, and the second part was the simulation of the trajectory of oil spill in the upper Gulf of Thailand. The significant wave height was the result of wave simulation from the SWAN model. The model was calibrated and validated by data from the Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA) in 1997 – 2002 at Huahin, Phetchaburi and Koh-Sichang station. The tidal influence current and the net current which combine tidal and wind-wave effects, resulted from Delft3D model was calibrated and validated by using tide tables of Hydrographics Department at Huahin, Bangkok bar, Koh-Sichang and Ao Sattahip station. The study of waves and currents found that the major influential current in the upper Gulf of Thailand was the tidal influence current. Therefore, the tidal influence current was used to study the trajectory of oil spills in the sea. The trajectory of oil spills in the upper Gulf of Thailand by the GNOME model was using satellite imagery data from the Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA) during the oil spill incident at the Chao Phraya River Estuary on 3 December 2019 to calibrate and validate. It was found that the trajectory of oil spills correlated with the direction of the wind. The study applied the GNOME model to analyzing the trajectory of oil spills during spring tide and neap tide monthly. The result was able to estimate the timing and locations where the oil would impact the upper Gulf of Thailand’s coastal areas. In conclusion, the trajectory of the oil spills was influenced by many factors such as the type of oil, diffusion characteristics, wind data, and current data in the sea.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83217
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.442
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.442
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187260020.pdf11.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.