Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83221
Title: การประเมินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการอนุรักษ์พลังงานกรณีศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา
Other Titles: Assessment of greenhouse gas reduction from energy conservation measures: a case study in Nakorn Ratchasima Municipality
Authors: อมรวรรณ ศรีสวัสดิ์
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปริมาณการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา แล้วจึงนำเสนอทางเลือกการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนำไปคาดการณ์ผลของการดำเนินการใช้มาตรการลดการใช้พลังงานในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ จากผลการศึกษาพบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในเขตเทศบาลฯ ในปี พ.ศ. 2560 เท่ากับ 484,799.68 tCO2eq และคิดเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อคน เท่ากับ  3.74  tCO2eq ต่อคนต่อปี นอกจากนี้กลุ่มกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือกลุ่มการเผาไหม้อยู่กับที่ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 266,786.63 tCO2eq (55.03%) รองลงมาคือกลุ่มขนส่ง มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 134,905.19 tCO2eq (27.83%) จากผลการคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2573 พบว่ามีค่าเท่ากับ 750,086.14 tCO2eq โดยกลุ่มการเผาไหม้อยู่กับที่ และกลุ่มขนส่งยังคงเป็นกลุ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลุ่มหลัก ดังนั้นแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพคือมาตรการอนุรักษ์พลังงานและมาตรการด้านการขนส่ง เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเขตเทศบาลฯ ได้แก่ การส่งเสริมการติดตั้งโซล่าเซลล์ ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (LED) และมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) จะส่งผลให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 12.89 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในปี พ.ศ. 2573   หรือหากเทศบาลฯ มีการพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle Bus) แทนระบบรถไฟฟ้ารางเบา จะส่งผลให้ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงร้อยละ 14.68 หรือมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 631,349.58 tCO2eq ในปี พ.ศ. 2573
Other Abstract: This research proposed the analyzation of energy consumption and greenhouse gas (GHG) emissions in Nakhon Ratchasima Municipality. Then, energy reduction and GHG emissions options are presented to predict the results of energy reduction measures in 2030 that will lead to Low Carbon City (LCC). According to the study of the city’s GHG emissions in year 2017, was found that  a GHG emissions of 484,799.68 tCO2eq, equivalent to 3.74 tCO2eq/person/year. Moreover, the highest sectors is stationary combustion sector that equal to 266,786.63 tCO2eq (55.03%). Followed by the transport sector, the amount of GHG emission is 134,905.19 tCO2eq (27.83%). The amount of GHG emissions in 2030 will be 750,086.14 tCO2eq. Additionally, the stationary combustion sector and the transport sector are still the main GHG emission sectors.The city has to implement energy conservation option. And from the  results of the mitigation options, that are adjusting Thailand grid emission factor, promotion to install solar cells, LED, and development of LRT in 2030, had the GHG emission equal to 644,570.38 tCO2eq and reducing GHG emissions equal to 12.89%. In case the city developed an electric vehicle bus instead of the LRT in 2030, resulting the city’s GHG emissions  equal to 631,349.58 tCO2eq and reducing GHG emissions equal to 14.68%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83221
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1370
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1370
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280072420.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.