Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต-
dc.contributor.authorพัทธนันท์ เด็ดแก้ว, 2516--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-20T08:33:45Z-
dc.date.available2006-07-20T08:33:45Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740307582-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/887-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์ประเภทสาระความรู้ และสาระบันเทิง และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการจดจำ และการนำไปใช้จากการรับชมรายการทั้ง 2 ประเภทของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t ค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ประชาชนที่มีอายุ สถานภาพสมรส และอาชีพต่างกัน มีการับชมรายการประเภทสาระความรู้แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีเพศ การศึกษา และรายได้ต่างกัน มีการรับชมรายการประเภทสาระความรู้ไม่แตกต่างกัน ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีการรับชมรายการประเภทสาระบันเทิงแตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีเพศ และสถานภาพสมรสต่างกัน มีการับชมรายการประเภทสาระบันเทิงไม่แตกต่างกัน 2. การรับชมรายการโทรทัศน์ประเภทสาระความรู้ มีความสัมพันธ์กับการจดจำได้ และการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับต่ำ 3. การรับชมรายการโทรทัศน์ประเภทสาระบันเทิง มีความสัมพันธ์กับการจดจำได้ในระดับต่ำ แต่มีความสัมพันธ์กับการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับปานกลาง 4. การรับชมรายการประเภทสาระบันเทิงมีระดับความสัมพันธ์กับการจดจำได้เท่าๆ กับการรับชมรายการประเภทความรู้ แต่การรับชมรายการประเภทสาระบันเทิงมีระดับความสัมพันธ์กับการนำความรู้ต่างๆ ที่ได้ไปใช้ประโยชน์มากกว่าจากการรับชมรายการประเภทสาระความรู้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the viewing habits of Bangkok residents on documentary and edutainment programs and to investigate the relationships between the retention of the program features and the subsequent application/adaptation of these features to their daily living. A sample size of 408 Bangkok residents was studied. Research tool used was self-administered questionnaires and subsequent data analysis includes the following statistical techniques : frequency, percentage, means, t-test. ANOVA, standard deviation and Pearson's product moment correlation coefficient, all of which were performed on Windows using SPSS, program. Summary of the results is: 1) For documentary programs people with different age, marital status and career differ in their viewing habits while sex, education and income levels do not display discernible effect on such habits. 2) For documentary programs a low level of correlation is revealed between the retention of program features and the application/adaptation thereof. 3) For edutainment programs, a low level of correlation is shown between retention of program features and the application in earning a living. A positive correlation is evidented in the application/adaptation of the program features to the respondents' daily living. 4) There are no differences in the level of knowledge retention between the viewing of documentary and edutainment program. However, edutainment program viewing has more level correlation and utilization than documentaries.en
dc.format.extent1587144 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.387-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้ชมโทรทัศน์en
dc.subjectรายการโทรทัศน์en
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการรับชมรายการโทรทัศน์ประเภทสาระความรู้และสาระบันเทิง การจดจำได้ และการนำไปใช้ประโยชน์en
dc.title.alternativeA comparative study of exposure retention and utilization of viewing documentaries and edutainment TV programsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUbolwan.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.387-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattanan.pdf972.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.