Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8958
Title: | โครงการย้ายชุมชนเรือนแพริมแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก |
Other Titles: | Relocation project of floating house in Nan River, Phitsanulok |
Authors: | วิรุฬห์ พันธุ์อุดม |
Advisors: | ชวลิต นิตยะ นพนันท์ ตาปนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chawalit.N@Chula.ac.th Nopanant.T@chula.ac.th |
Subjects: | เรือนแพ ที่อยู่อาศัย การย้ายที่อยู่อาศัย -- ไทย -- น่าน แม่น้ำน่าน |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ชุมชนเรือนแพริมแม่น้ำน่าน ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 241 หลัง มีลักษณะเป็นชุมชนที่รุกล้ำลำน้ำสาธารณะ และมีสภาพทรุดโทรม นอกจากนี้ยังมีการทิ้งสิ่งปฏิกูลจากเรือนแพที่อยู่อาศัยลงในแม่น้ำน่าน ทำให้เกิดมลภาวะ รวมทั้งการบุกรุกพื้นที่ริมตลิ่งโดยการเข้าไปใช้พื้นที่ก่อให้เกิดสภาพที่ไม่เป็นระเบียบ จังหวัดพิษณุโลกจึงมีโครงการจัดหาที่อยู่อาศัยแห่งใหม่เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเรือนแพ รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหามลภาวะของแม่น้ำน่านที่เกิดจากชุมชนเรือนแพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการอยู่อาศัย ศึกษาปัญหาต่างๆ ของชุมชนเรือนแพ และศึกษาปัจจัยในการย้ายชุมชนเรือนแพ จากการศึกษาพบว่า มีผู้อยู่อาศัยในเรือนแพที่มีความต้องการและตัดสินใจย้ายไปอยู่อาศัยในพื้นที่โครงการริมคลองโคกช้าง จำนวน 65 หลัง คิดเป็นร้อยละ 36.11 และมีผู้อยู่อาศัยในเรือนแพที่ไม่มีความต้องการและตัดสินใจไม่ย้ายไปอยู่อาศัยในพื้นที่โครงการริมคลองโคกช้าง จำนวน 115 หลัง คิดเป็นร้อยละ 63.89 สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวชุมชนเรือนแพมีความต้องการย้าย ได้แก่ สาเหตุทางด้านกายภาพของเรือนแพ คือปัญหาการดูแลรักษาและซ่อมแซมลูกบวบเรือนแพ ความลำบากในการเคลื่อนย้ายเรือนแพตามระดับน้ำขึ้นน้ำลง และเรือนแพมีสภาพทรุดโทรม สาเหตุทางด้านเศรษฐกิจการเงินของผู้อยู่อาศัยในเรือนแพ คือปัญหาค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมลูกบวบเรือนแพที่สูงขึ้น และผู้อยู่อาศัยมีรายได้เพียงพอกับค่าผ่อนบ้านของโครงการ สำหรับปัจจัยของโครงการริมคลองโคกช้าง คือ ความพอใจในแบบบ้าน ความเจริญของบริเวณโดยรอบ และความสะดวกในการเดินทางระหว่างโครงการถึงตัวเมืองพิษณุโลก สำหรับผู้อยู่อาศัยในเรือนแพกลุ่มที่ไม่มีความต้องการและตัดสินใจไม่ย้ายไปอยู่อาศัยในโครงการ มีแนวโน้มที่จะย้ายไปอยู่อาศัยในพื้นที่โครงการ โดยมีเหตุผลเหมือนกับผู้อยู่อาศัยในเรือนแพกลุ่มที่มีความต้องการและตัดสินใจย้ายที่อยู่อาศัย ข้อสรุป โครงการย้ายชุมชนเรือนแพริมแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก มีสาเหตุทางด้านกายภาพของเรือนแพสาเหตุทางด้านกายภาพของโครงการริมคลองโคกช้าง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยในเรือนแพมีความต้องการย้ายที่อยู่อาศัย และโครงการมีหน่วยงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนเมืองที่ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการผ่อนบ้านของผู้อยู่อาศัยในเรือนแพ ข้อเสนอแนะ 1) รูปแบบและวิธีการก่อสร้างบ้านของโครงการ ควรมีทางเลือกอื่นให้ผู้อยู่อาศัยในเรือนแพเลือกหรือมีส่วนร่วม โดยมีหน่วยงานของโครงการควบคุมมาตรฐานและความเป็นระเบียบของรูปแบบและการก่อสร้างบ้าน 2)ราคาค่าก่อสร้างบ้าน ราคาค่าผ่อนบ้านของโครงการ ควรมีการปรับให้เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัยในเรือนแพกลุ่มที่มีรายได้น้อยและไม่สามารถผ่อนบ้านของโครงการในปัจจุบันได้ 3)ควรมีการอธิบายและให้ข้อมูลที่ถูกต้องของโครงการเพื่อให้ชาวชุมชนเรือนแพเข้าใจถึงรุปแบบกระบวนการย้ายชุมชนของโครงการและมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการ |
Other Abstract: | At present, there are 241 floating houses along the Nan River in Phitsanulok municipality. The community not only intrudes on the public waterway but the houses are also in bad condition. Apart from these problems, waste dumped into the river from the floating houses causes pollution and the occupation of the area on the river bank courses an eyesore. Therefore, Phitsanulok province, set up a new housing project to develop the quality of life of the people in the floating house community. The aim of this research was to study the present living conditions, the problems in the community and the factors facilitating the relocation of the floating houses. The study revealed that 36.11 percent of residents inthe area or 65 households wanted and decided to move to a housing project along Koke Chang canal while 63.89 percent of the residents or 115 households did not wish to be relocated to the new housing project. The two reasons in support of the move were as follows: the physical problems of the floating houses along the Nan river such as maintaining pontoons, the movement of the floating houses according to the tides and the ruined condition of the houses. However there should be more flexible alternatives to allow the residents themselves to become more closely involved in the project, the planning style, construction of their future homes. The other reason was that the housing project along Koke Chang canal, was attractive to the residents and overall they were satisfied with the style, the surroundings and convenience in traveling from the project to the center of Phitsanulok. The economic status of the residents was also an important factor. Those who could pay for the new houses were willing to move. There was a tendency the people living in the floating house community who desired and decided not to move to the new housing project would move there with the same reasons as those who wanted and decided to do so. In conclusion, regarding the relocation project along the Nan River, Phitsanulok, such factors as the physical characteristics of the floating houses, the physical characteristics of the project along Koke Chang canal and the housing loans offered by the office of urban development affected the residents' willingness to buy a house in installments. There should also be more flexible repayment plan to suit low income residents who could not afford to move to the Koke Chang Project. Also, this should be adjusted to suit the residents who had low income and could not afford a house in the present project. Finally, more accurate explannation and information concerning the project should be given to the residents in the floating house community so that they could understand the plans and process of community relocation as well as developing a positive attitudes towards the project. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8958 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.139 |
ISBN: | 9741305117 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.139 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wiroon.pdf | 5.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.