Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8968
Title: | การพัฒนาความสามารถในการออกกำลังกายของผู้ป่วยฮัยเปอร์ธัยรอยด์ โดยใช้ยาต้านเบต้า |
Other Titles: | Improvement in exercise capacity in hyperthyroid patients by beta-blocker agents |
Authors: | ชนิตร์นันทร์ ฮาดดา |
Advisors: | สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร สมพล สงวนรังศิริกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | suwansp@yahoo.com Sompol.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ต่อมธัยรอยด์ ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ การออกกำลังกาย สารต้านเบตา |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงผลของยา propranolol และ carvedilol ต่อการเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายของผู้ป่วยฮัยเปอรธัยรอยด์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา และศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างผลของยา propranolol และ carvedilol จำนวนทั้งสิ้น 38 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 15-50 ปี คัดเลือกเข้าการทดลองโดยต้องมีระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือด FT3 และ FT4 สูงกว่าปกติ และมีระดับ TSH น้อยกว่าปกติ โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม และจัดให้ได้รับยา placebo (n=11), propranolol, (n=13) carvedilol (n=14) ควบคู่ไปกับยาต้านธัยรอยด์ โดยใช้ double blind control trial นำผู้ป่วยมาทดสอบความสามารถในการออกกำลังกายที่สัปดาห์ที่ 0, 2 และ 6 หลังจากได้รับยา ผลการทดลองพบว่า ในทุกกลุ่มมีระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนลดลงเมื่อทำการตรวจที่สัปดาห์ที่ 2 และ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างแต่ละกลุ่มพบว่า ระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดลดลงไม่แตกต่างกัน การทดสอบความสามารถในการออกกำลังกาย พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักและขณะออกกำลังกาย มีอัตราลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 2 และ 6 ในกลุ่มของ propranolol (p<0.01) และ carvedilol (p<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับ placebo และพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้านเบต้ามีความสามารถ ในการเพิ่มอัตรางานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 2 (p<0.05) ส่วน VO2/HR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มของ propranolol (p<0.05) และ carvedilol (p<0.05) และในกลุ่ม placebo ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของกลุ่ม carvedilol เมื่อเปรียบเทียบกับ placebo (p<0.05) อัตราการใช้ออกซิเจนของร่างกายไม่แตกต่างกันในทุกกลุ่ม ดังนั้นจากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ยาต้านเบต้ามีผลในการเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย ของผู้ป่วยฮัยเปอร์ฮัยรอยด์ได้ในช่วง submaximum exercise แต่ผลของยา propranolol และยา carvedilol ต่อการออกกำลังกายนั้นไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | Exercise tolerance and capacity are usually reduced in hyperthyroid subjects and are probably related to sympathetic nervous system dysfunctions. Beta-blocking agents have been prescribed for relieving hyperadrenergic symptoms for many years. However, whether these agents can improve the exercise tolerance and capacity remained controversy. To study the effect of two differents beta-blockers: propranolol (beta-blockade) and carvedilol (beta and alpha-blockade) upon exercise capacity and tolerance in hyperthyroid subjects. A total of 38 hyperthyroid patients, aged 15-50 years were enrolled. All were prescribed anti-thyroid drugs (methimazole 10 mg) combined with one of the followings : placebo tablet (n=11), propranolol (40 mg/day, n=13), and carvedilol (25 mg/day, n=14), Exercise capacity and tolerance was performed by a standard protocol (using cardiopulmonary exercise test) at 0, 2 and 6 weeks. There was no significant decreases in serum free thyroid hormones among each group. At 2 and 6 weeks after treatment, thyroid hormones level were decreased significantly in all three groups. Resting heart rate and peak exercise heart rate decreased significantly at week 2 and 6 in both propranolol (p<0.01) and carvedilol (p<0.01) groups compared to placebo group. VO2/HR were significant increased in propranolol (p<0.05) and carvedilol (p<0.05) compared to placebo. No differences in VO2peak among different group. However, there was no statistical significant differences in all exercise parameter between propranolol and carvedilol. In conclusion, exercise capacity and tolerance in hyperthyroid patients are improving by beta-blocking agents. No significant differences between propranolol and carvedilol in term of improving exercise capacity and tolerance were observed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8968 |
ISBN: | 9743466134 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanitnant.pdf | 951.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.