Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8969
Title: | การสื่อสารกับพฤติกรรมการป้องกันโรคจากการทำงานของผู้ใช้แรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ |
Other Titles: | Communication and preventive behavior concerning occupational diseases among industrial Wrkers in Northern Region Industrial Estate |
Authors: | อมร เอี่ยมตาล |
Advisors: | ธนวดี บุญลือ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Tanawadee.b@chula.ac.th |
Subjects: | การเปิดรับข่าวสาร โรคเกิดจากอาชีพ แรงงาน -- ไทย เขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโดยทั่วไป พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคจากการทำงาน ความรู้ ทัศนคติ ความตระหนัก และพฤติกรรมการป้องกันโรคจากการทำงานของผู้ใช้แรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการป้องกันโรคจากการทำงานกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโดยทั่วไป พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคจากการทำงาน ความรู้ ทัศนคติ และความตระหนักต่อโรคจากการทำงาน นอกจากนี้ยังศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโดยทั่วไป พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคจากการทำงาน ความรู้ ทัศนคติ ความตระหนัก และพฤติกรรมการป้องกันโรคจากการทำงาน ระหว่างผู้ใช้แรงงานในโรงงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูง กับผู้ใช้แรงงานในโรงงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพต่ำกว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ t-test, One-Way ANOVA, Scheffe test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารโดยทั่วไปของผู้ใช้แรงงาน วิทยุเป็นสื่อที่มีผู้เปิดรับมากที่สุด รองลงมาคือ โทรทัศน์ และเพื่อนร่วมงานตามลำดับ ส่วนข่าวสารเกี่ยวกับโรคจากการทำงาน ผู้ใช้แรงงานเปิดรับจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือ เพื่อน 2. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโดยทั่วไปแตกต่างกันตามตัวแปร เพศ สถานภาพสมรส ระยะเวลาการทำงาน และรายได้ 3. ทัศนคติ ความตระหนักต่อโรคจากการทำงาน และพฤติกรรมในการป้องกันโรคจากการทำงานของผู้ใช้แรงงาน อยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่ไม่สม่ำเสมอ 4. ผู้ใช้แรงงานมีความรู้เรื่องโรคจากการทำงานในระดับผิวเผิน 5. พฤติกรรมการป้องกันโรคจากการทำงาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโดยทั่วไปและทัศนคติต่อโรคจากการทำงาน 6. ผู้ใช้แรงงานในโรงงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูง กับผู้ใช้แรงงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพต่ำกว่า มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโดยทั่วไป พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคจากการทำงาน ความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมในการป้องกันโรคจากการทำงานแตกต่างกัน |
Other Abstract: | The objective of this research was to study media exposure in general, media exposure concerning occupational diseases, knowledge, attitudes, awareness and preventive behavior relating to occupational diseases among industrial workers in Northern Region Industrial Estate, Lamphun Province. The research also investigated the relationships among media exposure in general and concerning occupational diseases, knowledge, attitudes, awareness, and preventive behavior of occupational diseases. Moreover, this research intended to compare media exposure knowledge, attitudes, awareness and preventive behavior among workers with different degrees of health risks. The 382 subjects were randomized among workers of Northern Region Industrial Estate. Questionnaires were used to collect the data. The data was then analyzed by SPSS/PC+ computer program to obtain percentage, t-test, One-Way ANOVA, Scheffe test and Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient. The research findings are as follows:- 1. Workers were exposed to radio the most, followed by television and friends in the workplace. As for exposure to occupational diseases information, workers were exposed to television the most, followed by friends. 2. Workers with different ages, sexes, marital status, working duration, and income were different in media exposure. 3. Attitudes, awareness of occupational diseases and preventive behavior against occupational diseases among workers were found to be at a satisfactory level. However, discrepancies among attitudes, awareness and behaviors exist. 4. Knowledge about occupational diseases among workers were found to be at a superficial level. 5. Preventive practice for occupational diseases were correlated with attitudes and media exposure in general. 6. Workers with different degrees of health risks were different in media exposure in general, media exposure concerning occupational diseases, knowledge, awareness and preventive behavior for occupational diseases. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.น.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8969 |
ISBN: | 9746391275 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amorn_Ei_front.pdf | 864.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amorn_Ei_ch1.pdf | 916.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amorn_Ei_ch2.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amorn_Ei_ch3.pdf | 767.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amorn_Ei_ch4.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amorn_Ei_ch5.pdf | 953.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amorn_Ei_back.pdf | 978.87 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.