Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9806
Title: ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อการใช้ที่ดินและชุมชนของเกาะช้าง จังหวัดตราด
Other Titles: The impact of tourism on land use and communities of Ko Chang, Trad Province
Authors: ดอกอ้อ ปาณะดิษ
Advisors: วรรณศิลป์ พีรพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wannasilpa.P@Chula.ac.th
Subjects: การใช้ที่ดิน -- ไทย
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย
เกาะช้าง (ตราด)
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ ความสัมพันธ์และผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อการใช้ที่ดินและชุมชนของ เกาะช้าง จังหวัดตราด รวมถึงความเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการลดผลกระทบทางด้านลบอันเป็นปัญหาต่อ พื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการท่องเที่ยวของเกาะช้างแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก ก่อน พ.ศ. 2528 ช่วงที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2529-2539 ช่วงที่ 3 ระหว่าง พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน การพัฒนาการท่องเที่ยวของเกาะช้างในช่วงแรกการท่องเที่ยวของเกาะช้างยังไม่ ได้รับการพัฒนา ในช่วงที่ 2 มีการขยายตัวของสถานบริการการท่องเที่ยวประเภท บังกะโล และโรงแรม และในช่วงที่ 3 มีการขยายตัวของสถานบริการการท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มหลักคือ กลุ่มกายภาพ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การใช้ที่ดินและการตั้งถิ่นฐาน กลุ่มเศรษฐกิจ ได้แก่ การจ้างงานและอาชีพ รายได้ และค่าครองชีพ กลุ่มสังคม ได้แก่ โครงสร้างประชากร ขนบธรรมเนียมประเพณี และสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิต พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบสูงสุด คือ หาดทรายขาวบริเวณตะวันตกของเกาะ อันเป็นแหล่งท่องสำคัญของเกาะช้าง พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรองลงมาได้แก่ หาดคลองพร้าว หาดไก่แบ้ อันเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหลัก โดยการท่องเที่ยวส่งผลกระทบด้านลบต่อด้านการใช้ที่ดินมากที่สุด ขณะนี้ผลกระทบด้านการใช้ที่ดินเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ ตามมา เพื่อเป็นการแก้ไขและควบคุมผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อการใช้ที่ดิน และชุมชนของเกาะช้าง จังหวัดตราด จึงเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการท่องเที่ยวให้มีการควบคุมการขยายตัวของนักท่องเที่ยวและสถานบริการ การท่องเที่ยว ด้านการใช้ที่ดิน เสนอให้มีการกำหนดเขตการใช้ที่ดิน โดยแบ่งเป็นการพัฒนา เขตควบคุมการพัฒนา และเขตอนุรักษ์ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เสนอให้มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การกำจัดขยะ แหล่งน้ำดิบ ด้านเศรษฐกิจและสังคมเสนอให้มีการกระจายรายได้ พัฒนาฝีมือแรงงานและสร้างความมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน
Other Abstract: The objectives of this thesis are to study tourism development and its relationship with and impact on land use and communities of Ko Chang, Trad Province, and to propose guidelines and measures to alleviate the negative impact. The study reveals that tourism development of Ko Chang can be classified into 3 periods: before 1985, between 1986 and 1996; and from 1997 to the present. Very little tourism development occurred during the first period. During the second period, many bungalows and hotels were constructed. More tourism facilities have been added during the third period. The impact can be classified into 3 categories. Physical impact includes infrastructure, Land use, and settlement changes. Economic impact includes employment, occupation, and income changes. Social impact includes population structure, cultural, and life-style changes. The most affected area is the beach in the west of the island which are important tourist attractions, following by the adjacent area of Klong Prow and Kaibae Beaches. Most negative impact occurs on land use which brings about several other negative impact. To alleviate and control the negative impact, the following measures are propose i) Controlly the growth of tourism and the expansion of tourist facilities; ii) zoning land use into development are, controlled area, and conservation area; iii) improving infrastructure, especially garbage disposal and water supply; and iv) improving economic and social conditions especially income distribution and reconstructry cultured identity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9806
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.310
ISBN: 9740306128
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.310
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dokor.pdf26.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.