Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9815
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรณรงค์ โชติวรรณ | - |
dc.contributor.advisor | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ | - |
dc.contributor.author | พิมใจ ศาทสิทธิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-07T09:18:39Z | - |
dc.date.available | 2009-08-07T09:18:39Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743337946 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9815 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | โรคติดเชื้อฉวยโอกาส เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี มีระดับภูมิคุ้มกัน (CD4+ cell) ลดต่ำลง แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยเอง ปัจจัยภายนอก และปัจจัยทางด้านการรักษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณา แบบเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ และศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส กับข้อมูลด้านการรักษาและข้อมูลลักษณะทางประชากรของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 738 คน เป็นผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม 2539 โดยติดตามการรักษาจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2542 และจนสิ้นสุดการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Logistic regression model applying Generalized Estimating Equation (GEE) ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส จำนวน 335 คน (ร้อยละ 45.4) โดยเป็น 1 ครั้ง ร้อยละ 81.5, 2 ครั้ง ร้อยละ 14.6 และ 3 ครั้ง ร้อยละ 3.9 โรคติดเชื้อฉวยโอกาสส่วนใหญ่จะเป็นในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะโรคเอดส์ (อุบัติการณ์ = 53.3/100 คน-ปี) มีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป เป็นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาชีพส่วนใหญ่ที่พบคืองานบ้าน อาชีพที่พบน้อยคือเกษตรกร ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์แบบสองชนิดพร้อมกันมีอุบัติการณ์การเกิดโรคต่ำกว่ารักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ชนิดเดียว (10/100 คน-ปี vs 60/100 คน-ปี) ระยะเวลาที่พบโรคติดเชื้อฉวยโอกาสส่วนใหญ่อยู่ในช่วงต้นของการรักษา ถึง 10 เดือน (อุบัติการณ์ =160.7/100 คน-ปี) โรคติดเชื้อฉวยโอกาสส่วนใหญ่ที่พบได้แก่ Oral candidiasis (Median CD4+cell=40), Pruritic papular eruption (Median CD4+cell=90), Tuberculosis (Median CD4+cell=80), Cryptococcosis (Median CD4+cell=20) และ Herpes zoster (Median CD4+cell=90) และพบว่าผู้ป่วยในระยะโรคเอดส์ที่ได้รับยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ก็ยังมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสกับข้อมูลด้านการรักษาและข้อมูลลักษณะทางประชากรของผู้ป่วย พบว่า การเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส มีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ ระยะของการติดเชื้อในผู้ป่วย (p<0.001), รูปแบบของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ (p<0.001) ระยะเวลาที่ได้รับการรักษา (p<0.001), การได้รับยาป้องกันและไม่ได้รับยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส (p=0.036), เพศ (p<0.001) และพฤติกรรมเสี่ยง (p=0.018) ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษานี้ได้แก่ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยโรคเอดส์ ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ให้คำนึงถึง ปัจจัยด้านการรักษาและปัจจัยลักษณะทางประชากรของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งอาจมีผลต่อการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ | en |
dc.description.abstractalternative | Opportunistic infections occured in HIV-infected persons when their immunities (CD4+ cell) are low. Regardless whether the patients receive antiretroviral drugs, they can still have the infections, depending upon their internal, external and treatment factors. This retrospective, descriptive, chart-review study aims to examine the patterns of opportunistic infections HIV-infected persons and AIDS patients who have received antiretroviral drugs, and to explore any relationships between opportunistic infections and basic characteristics and treatment status of the patients. The study sample included 738 HIV-infected persons and AIDS patients received antiretroviral drugs beginning between January and December 1996. They were followed until November 1999 or the end of treatment. Data were analyzed using percentage, mean, median, standard deviation and logistic regression model applying Generalized Estimating Equation (GEE). The finding indicated that 335 HIV-infected persons and AIDS patients (45.4%), 81.5% of which had infected once, 14.6% had twice and 3.9% had three times. Opportunistic infections were found more frequently in the AIDS stage, the age group of more than 55 years old and in male. They were more likely to be housewife, and least likely to be farmers. The patient receiving double therapy were less likely than those with single therapy to get infection (10 per 100 person-year VS. 60 per 100 person-year). Infections were found mostly during the first 10 months of treatment (160.7 per 100 person-year). Most common infections were Oral candidiastis (Median CD4+cell=40), Pruritic papular eruption (Median CD4+cell=90), Tuberculosis (Median CD4+cell=80), Cryptococcosis (Median CD4+cell=20) and Herpes zoster (Median CD4+cell=90). Besides, AIDS patients receiving opportunistic infections prophylaxis remained at high risk of getting the infections. The incidences of opportunistic infections were statistically significant related to stage of HIV-infection (p<0.001), antiretroviral treatment (p<0.001), duration of treatment (p<0.001), opportunistic infections prophylaxis (p=0.036), gender (p<0.001) and risk behaviors (p=0.018). The study suggests that treatment and patient characteristics factors affect incidences of opportunistic infections and should be considered in managing HIV-infected persons and AIDS patients. | en |
dc.format.extent | 1241768 bytes | - |
dc.format.extent | 1430844 bytes | - |
dc.format.extent | 2345696 bytes | - |
dc.format.extent | 1017242 bytes | - |
dc.format.extent | 2489381 bytes | - |
dc.format.extent | 1744506 bytes | - |
dc.format.extent | 1495807 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรคติดเชื้อ | en |
dc.subject | โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย | en |
dc.subject | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี | en |
dc.subject | สารต้านไวรัส | en |
dc.title | การเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี และผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง | en |
dc.title.alternative | Opportunistic infections among HIV infected persons and AIDS patients receiving antiretrovirals in three hospitals of Ministry of Public Health | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์ชุมชน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pornarong.C@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Jiruth.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pimjai_Sa_front.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimjai_Sa_ch1.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimjai_Sa_ch2.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimjai_Sa_ch3.pdf | 993.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimjai_Sa_ch4.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimjai_Sa_Ch5.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimjai_Sa_back.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.