Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9943
Title: | ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยนอกคลินิกประกันสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Prevalene of depression in Outpatients Department of Social Security Service of King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | ธนวรรณ พยูงผล |
Advisors: | ดวงใจ กสานติกุล เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangjai.K@Chula.ac.th Decha.L@Chula.ac.th |
Subjects: | ความซึมเศร้า ผู้ป่วย |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ ซึมเศร้าในผู้ป่วยนอกคลินิกประกันสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 330 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยใหม่ อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการตรวจรักษาที่คลินิกประกันสังคม ภปร.13 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในเวลาราชการ ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2545 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต และแบบประเมินอาการซึมเศร้า สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของภาวะซึมเศร้า พบร้อยละ 24.6 โดยมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ร้อยละ 16.4 และภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง ร้อยละ 8.2 เพศและลักษณะงาน มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 รายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 และการวินิจฉัยโรคที่มารักษาในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05. การสนับสนุนทางสังคม พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเกิดภาวะซึมเศร้า (y= - 0.163,p<0.01) ส่วนเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเกิดภาวะซึมเศร้า (y= 0.337, p<0.001) เพศ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตและการสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 |
Other Abstract: | The purposes of this research was to study into the prevalence of depression and factors related to the depression in Out-patients Department of Social Security Service of King Chulalongkorn Memorial Hospital. The subjects were 330 new patients aged 18 up. They received treatment at the Department of Social Security Service, 13th floor during office hours ( June - August 2002 ). The tools used were a questionnaire about general information, a form measuring social support, The Personal Resource Questionnaire, Life Stress Event and HRSR (Scale : Diagnostic Screening for Depression in Thai. The variables were determined by percentage, mean, standard deviation, Chi-square, t-test and Stepwise Multiple Regression. The result of this research were as follows : the prevalence of depression were 24.6 %. The severity of the depression was classified as little to moderate 16.4% and severe 8.2 %. Sex and job were significantly related with depression p< 0.001, income was significantly related with depression p< 0.01 and diagnosis was significantly related with depression p< 0.05. Social support was statistically negative correlated with depression (y=-0.163,p< 0.01) . Stress in life was statistically positive correlated with depression. (y=0.337,p<0.001). Sex, stress in life and social support were predicted factors that leading to depression at the statistical significant level of p<0.001. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9943 |
ISBN: | 9741714467 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanawan_Pay.pdf | 806.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.