Abstract:
ศึกษาผลของการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจสามแบบ ต่อการเปลี่ยนเจตคติ ความเชื่อ เจตนา และพฤติกรรมของผู้สูบบุรี่ ในการเซ็นชื่อเข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นทหารกองประจำการ สังกัดกองพลเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก ผู้ติดบุหรี่จำนวน 120 สุ่มตัวอย่างที่เซ็นชื่อและเซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่อย่างละ 60 คน เข้าเงื่อนไขการทดลองเท่ากัน 1 ใน 4 เงื่อนไข คือ ฟังแบบการชักชวนที่เน้นผลเสียของการเซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ ฟังแบบการชักชวนที่เน้นผลดีของการเซ็นชื่อเข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ ฟังแบบการชักชวนที่เน้นผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อไป และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังแบบการชักชวน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง สร้างขึ้นตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของ Ajzen & Fishbein (1980) และสารโน้มน้าวใจสามแบบ พัฒนามาจากงานวิจัยของแมคอาร์เดิล (Fishbein. Ajzen. & MeArdle, 1980) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูบบุหรี่ที่เซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ มีการเปลี่ยนเจตคติทางตรงและเจตคติทางอ้อมต่อการเซ็นชื่อ ไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ หลังจากได้รับฟังการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจแบบการชักชวน ที่เน้นผลเสียของการเซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ ต่ำกว่าแบบการชักชวนที่เน้นผลดีของการเซ็นชื่อเข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ และต่ำกว่าแบบการชักชวนที่เน้นผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อไป และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังแบบการชักชวน (p<.001) 2. ผู้สูบบุหรี่ที่เซ็นชื่อเข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ มีการเปลี่ยนเจตนาในการเซ็นชื่อเข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ หลังจากได้รับฟังการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ แบบการชักชวนที่เน้นผลดีของการเซ็นชื่อเข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ สูงกว่าแบบการชักชวนที่เน้นผลเสีย ของการเซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ และสูงกว่าแบบการชักชวนที่เน้นผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อไป และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังแบบการชักชวน (p<.05) 3. ผู้สูบบุหรี่ที่เซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ มีการเปลี่ยนเจตนาในการเซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ หลังจากได้รับฟังการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ แบบการชักชวนที่เน้นผลเสียของการเซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ ต่ำกว่าแบบการชักชวนที่เน้นผลดีของการเซ็นชื่อเข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ และต่ำกว่าแบบการชักชวนที่เน้นผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อไป และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังแบบการชักชวน (p<.001) 4. จำนวนผู้สูบบุหรี่ที่เซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ หลังจากได้รับฟังการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจแบบการชักชวนที่เน้นผลเสียของการเซ็นชื่อไม่เข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ ต่ำกว่าแบบการชักชวนที่เน้นผลดีของการเซ็นชื่อเข้าหน่วยรักษาผู้ติดบุหรี่ แบบการชักชวนที่เน้นผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อไป และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฟังบนการชักชวน(p<.05)