dc.contributor.author |
ขำคม พรประสิทธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย (ภาคเหนือ) |
|
dc.date.accessioned |
2010-02-15T06:19:09Z |
|
dc.date.available |
2010-02-15T06:19:09Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12001 |
|
dc.description |
วัฒนธรรมการขับซอ -- วัฒนธรรมการบรรเลงวงเครื่องสายล้านนา -- วัฒนธรรมการบรรเลงกลองล้านนา -- วัฒนธรรมการบรรเลงปี่พาทย์พื้นเมือง -- วัฒนธรรมการบรรเลงวงดนตรีประเภทอื่นๆ ที่ปรากฎในพื้นที่ภาคเหนือ |
en |
dc.description.abstract |
ศึกษาวัฒนธรรมการบรรเลง ระเบียบวิธีการบรรเลง ระดับเสียงที่ใช้ในการบรรเลง ลักษณะการประพันธ์บทเพลงและรวบรวมบทเพลงในวัฒนธรรมดนตรีประจำถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีในพื้นถิ่นภาคเหนือมีความหลากหลาย สามารถจำแนกออกเป็นวัฒนธรรมใหญ่ๆ 5 ประเภทได้แก่ 1. วัฒนธรรมการขับซอ ประกอบด้วยซอเชียงใหม่และซอน่าน 2. วัฒนธรรมการบรรเลงวงเครื่องสายล้านนาและการดีดพิณเปี๊ยะ 3. วัฒนธรรมการบรรเลงกลองล้านนา 4. วัฒนธรรมการบรรเลงวงปี่พาทย์พื้นเมืองหรือวงป้าด 5. วัฒนธรรมการบรรเลงวงดนตรีที่ประจำอยู่ ณ จังหวัดต่างๆ ได้แก่ วงตอยอฮอร์น จังหวัดแม่ฮ่องสอน วงมังคละ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ วงปี่พาทย์จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ แตรวง จังหวัดพิจิตร การร้องเพลงขอทาน จังหวัดสุโขทัย วงตุ๊บเก่ง และดนตรีประกอบการเล่นแมงตับเต่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ระดับเสียงของเครื่องดนตรีและวงดนตรีสำหรับวัฒนธรรมดนตรีภาคเหนือ มิได้มีการกำหนดเป็นการเฉพาะ สามารถยืดหยุ่นหรือเล่นไปตามความถนัดได้ สำหรับวัฒนธรรมการขับซอ ทั้งซอเชียงใหม่และซอล่องน่าน พบกลุ่มเสียงปัญจมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ ท ด ร X ฟ ซ X, ด ร ม X ซ ล X และ ฟ ซ ล X ด ร X นอกจากนี้ยังพบอีกว่านักดนตรีมิได้ให้ความสำคัญกับการประสานเสียงเสมอเหมือนกับการดำเนินทำนองและการควบคุมจังหวะ บทเพลงพื้นถิ่นภาคเหนือแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่เพลงที่เป็นเนื้อแท้และเพลงที่เป็นเนื้อสังเคราะห์ โดยเพลงที่เป็นเนื้อสังเคราะห์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เพลงที่นำเอาวิธีการบรรเลงแบบภาคกลางมาใช้ประกอบการบรรเลงและเพลงที่นำเอามาจากบทเพลงภาคกลางทั้งเพลงมาใช้บรรเลง ผลการวิจัยสามารถสรุปเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคเหนือได้ 2 ประการ ได้แก่ 1. เสียงของวงดนตรีประเภทต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะมีความอ่อนโยน สง่างาม อย่างดนตรีภาคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมดนตรีประเภทใด ล้วนแสดงเอกลักษณ์และอุปนิสัยของคนในพื้นถิ่นภาคเหนือที่มีความอ่อนโยนและนุ่มนวลอย่างชัดเจน 2. วัฒนธรรมดนตรีมีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และวิถีชีวิตของชาวล้านนาอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะวัฒนธรรมการบรรเลงกลองล้านนาที่มีความชัดเจนในเรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาพุทธ และวัฒนธรรมการบรรเลงทุกประเภทจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับประเพณี วิถีชีวิตของชาวล้านนาแทบทุกประเภท |
en |
dc.description.abstractalternative |
To study the performance methods, scales, compositional methods, and collections of the melodies in the Northern part of Thailand. The research findings show that the performance methods in the locality is diverse and can be divided into five aspects: 1. The music culture of saw : Saw Chieng Mai and Saw Long Nan 2. The performing culture of Salaw Saw Seung and Pin Bhia. 3. The performing culture of Lanna drumming. 4. The performing culture of the folk ensemble (Wong Paat). 5. The performing cultures of the local communities: Wong Tau Yor Horn in Mae Hong Sorn province, Wong Mangkala in Utharadit, Wong Pipaat in Kamphaengphet and Nakornsawan, Wong Trae Wong in Pichit, Phleng Koh Than Singing in Sukhothai, Wong Thup Keng, and the music accompanying Mang Thup Tao play in Petchaboon. The range of music in the Northern part of Thailand is not fixated. It can be changed according to musicians’ abilities. Regarding the music culture of Saw Chieng Mai and Saw Long Nan, both of them use the pentracentic mode known in Thai music as Thang Klang, Thang Phieng Au Bon, and Thang Chawa. The research shows that musicians did not perceive the harmony as significant as making melodic variations and melodic movements. The musical genre in the northern music culture can be divided into two categories: the first type is Phleng Neu tae and the second is called Neu Sang Khraw. The Neu Sang Khraw can be further divided into two types. The first type only takes the performance methods from the central part of Thailand. The second type takes both the performance methods and the melodies from the central part of Thailand. In conclusion, the identity of performing culture in the northern part of Thailand are characterized in two aspects; the sound quality of the northern music is softened. The music shows the characteristics of the people of the north showing their gentle being. The music is closely related to the way of life and Buddhism. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
25335297 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคเหนือ) |
en |
dc.subject |
เพลงพื้นเมือง -- ไทย (ภาคเหนือ) |
en |
dc.title |
วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคเหนือ : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
Kumkom.P@Chula.ac.th |
|