DSpace Repository

วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคอีสานใต้และภาคกลาง : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ขำคม พรประสิทธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคกลาง)
dc.date.accessioned 2010-04-05T09:12:53Z
dc.date.available 2010-04-05T09:12:53Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12473
dc.description วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคอีสานใต้ -- กลุ่มวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคกลาง ประเภทประกอบท่าทางหรือการแสดง -- กลุ่มวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคกลาง ประเภทการร้องหรือบรรเลงอย่างเดียว en
dc.description.abstract การดำเนินการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคอีสานใต้และภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการบรรเลง รวบรวมบทเพลงประจำถิ่นภาคอีสานใต้และภาคกลางอย่างเป็นรูปธรรมดนตรีไทย ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคอีสานใต้พบว่า วัฒนธรรมทุกประเภทมีลักษณะเฉพาะของตัวเองและมี 3 ขั้นตอนสำคัญได้แก่ การเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการไหว้ครู ส่วนกลางเป็นเนื้อหาหรือกิจกรรม จบด้วยการลาและอวยพร สามารถแบ่งเป็น 2กลุ่มใหญ่ด้วยกันได้แก่ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและความบันเทิง วัฒนธรรมการบรรเลงมีความยืดหยุ่นไม่ตายตัว มีลักษณะของเพลงเนื้อเต็ม มีวิธีการบรรเลงที่เรียบง่าย วัฒนธรรมการบรรเลงเกือบทุกประเภทลักษณะร่วมกันคือมีความยาวของทำนองไม่มากนัก อาจกล่าวได้ว่าทำนองสั้นและจะมีการซ้ำทำนองไปมาโดยไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับเวลาและเนื้อร้องที่นำมาร้องประกอบกับทำนองนั้นๆ กลุ่มเสียงที่นำมาประกอบเป็นทำนองจะไม่มีการเปลี่ยนบันไดเสียงบ่อยครั้ง ยกเว้นดนตรีประกอบพิธีกรรมมะม้วด มีการเปลี่ยนบันไดเสียงที่หลากหลายและการดำเนินทำนองมีการเก็บผสมการสะบัดและขยี้ วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคกลางพบว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละวัฒนธรรม ทั้งนี้มีผลมาจากอิทธิพลของพื้นที่ใกล้เคียง เชื้อสายดั้งเดิมของชุมชนและปัจจัยภายนอกที่มีผลทำให้ดนตรีปรากฏเพื่อตอบสนองกับชุมชนและพื้นถิ่นนั้นๆ ตัวอย่างเช่น การบรรเลงวงมโหรีไทยรามัญและการร้องเพลงรำภาข้าวสารจะเป็นวัฒนธรรมการร้องและบรรเลงของชาวมอญ ขั้นตอนการบรรเลงและระเบียบวิธีการบรรเลงก็มีความหลากหลายไปตามเนื้อหาแต่ละประเภท วัฒนธรรมการบรรเลงประเภทต่างๆ มักเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูและจบด้วยการอวยพรและการลาเช่นเดียวกับวัฒนธรรมการบรรเลงของภาคอีสานใต้ อัตราความยาวของเนื้อหาของวัฒนธรรมเกือบทุกประเภทจะมีความยาวไม่มากนักและมักจะไม่จำกัดจำนวนเที่ยวในการร้องหรือบรรเลง จะมีการยืดหยุ่นไปตามเนื้อร้องที่นำมาร้องในแต่ละงานหรือแต่ละกิจกรรมที่นำวัฒนธรรมการบรรเลงเข้าไปเกี่ยวข้อง การขับร้องเพลงพื้นบ้านภาคกลางส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการร้องแบบที่เรียกว่า การร้องเพลงเนื้อเต็ม มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องความศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการทรงเจ้าเข้าผีด้วยได้แก่วัฒนธรรมการร้องเพลงหัวไม้ จากการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมหลายประเภทกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยเนื่องจากวัฒนธรรมหลายประเภทเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและการทำมาหากินของชุมชน เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นทำให้วัฒนธรรมหลายประเภทหายไปจากชุมชน en
dc.description.abstractalternative This research is entitled the music culture of southern E-Sarn and central regions of Thailand. The research aims to investigate performance methods and musical analysis of repertoire in the regions. The research findings show that in the southern area of E-Sarn the performance methods of each musical culture are unique and each group involves certain kinds of the ritual of paying homage to teachers prior to the beginning of their performances. Then the performance starts and approaches to the final section of the performance, which is usually ended with the farewell and blessing section. The repertoire can be divided into two groups: (1) the first group is designed for an accompaniment of the rituals; (2) the second group is used for entertainment purposes. The format of performance is flexible. The melodies of lyrics are sung identically to the melodies of songs. The melodies can be divided into short phrases. The melodies are repetitive and they can be repeated over and over dependent on the duration of occasions and the length of lyrics. The melodies regularly adhere to one scale. Metabole is rarely used. There is only one exception; the music accompanying to the Mamuad ritual uses various scales and advanced techniques of performance such as sabad and kayee. The music culture of the central region is unique. Nonetheless, the influence of other ethnic culture plays an important role to the change of music culture. For example, the Mahori Raman and the Rampa Khaosan singing is from the Mon ethnic group in Thailand. The steps of performance methods are varied to the contents of the stories. Similar to the performance methods found in the southern area of E-Sarn region, the performance usually begins with the ritual of paying homage to teachers. The melodies are repetitive and they can be repeated over and over dependent on the duration of occasions and the length of lyrics. The singing found in the central region is similar to the singing of the southern area of E-sarn region. The singing melodies are also use to accompany the spiritual possession the play of Hau Mai. This research findings show that many kinds of performances and music are slowly disappearing from the Thai society because the introduction of new technologies and the changes of local life styles. en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.format.extent 20900832 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.subject เพลงพื้นเมือง -- ไทย (ภาคกลาง) en
dc.title วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยภาคอีสานใต้และภาคกลาง : รายงานวิจัย en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Kumkom.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record