DSpace Repository

สถาปัตยกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทย : เอกสารงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author วัฒนะ จูฑะวิภาต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2010-08-18T11:03:47Z
dc.date.available 2010-08-18T11:03:47Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13257
dc.description ระบบความเชื่อ ค่านิยมและสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองสมัยต้นรัตนโกสินทร์ -- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -- งานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -- บริบททางสังคมกับการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรม -- ภาคผนวก: ตารางแสดงช่วงเวลาแห่งการเกิดงานสถาปัตยกรรมและเหตุการณ์สำคัญ ; ลักษณะพิเศษของงานสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ ; ตารางแสดงผลงานสถาปนิกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ; ตารางแสดงเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ; ตารางแสดงรูปแบบงานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สืบค้นสถาปนิกผู้ออกแบบได้ ; กระแสพระบรมราชโองการบรรจุไว้ในศิลาพระฤกษ์พระที่นั่งอนันตสมาคม ; การก่อต้งพระฤกษ์พระตำหนักบ้านปืน ; กระแสพระบรมราชโองการเขียนบรรจุศิลาพระฤกษ์ en
dc.description.abstract ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสังคมไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และศึกษารูปแบบของสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นตามแนวทางของช่างผู้ออกแบบทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เน้นเรื่องการรับอิทธิพลตะวันตก ทั้งด้านแนวคิดและรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมพระราชนิยมที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ โดยดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเก็บข้อมูลภาคสนามจากตัวงานสถาปัตยกรรมแต่ละประเภท ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1. อิทธิพลของสถาปัตยกรรมตะวันตก มีส่วนเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยมาก เริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา และเป็นรูปธรรมชัดเจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. แนวทางการปฏิรูป พัฒนาประเทศ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง เศรษฐกิจ การแพทย์ วิศวกรรม และสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว 3. การถือว่าสถาปัตยกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสถาปัตยกรรมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทยนั้นเนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก ทั้งในด้านของศิลปวัฒนธรรมและเทคนิควิทยาการสมัยใหม่อย่างแท้จริง และเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แพร่หลายทั้งในระดับชนชั้นปกครองถึงชนชั้นกลาง ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 4. การที่รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเข้ามาแพร่หลายในสยาม ก็เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมแบบหนึ่ง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 5. การสร้างสถาปัตยกรรมรูปแบบตะวันตกนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าประเทศสยามมีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ จุดมุ่งหมายของการรับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกในรัชกาลนี้จึงมีเหตุผลทางการเมืองซ้อนอยู่ด้วย 6. รูปแบบของสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวแบ่งแออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้ 6.1 แบบตะวันตกแท้ที่มีช่างออกแบบเป็นชาวต่างชาติ 6.2 แบบตะวันตกผสมแบบไทย โดยมีช่างชาวไทยเป็นผู้ออกแบบ หรือมีช่างชาวตะวันตกและช่างชาวไทยทำงานร่วมกัน เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วัดศรีสุริยวงศ์ และวัดจุฬาธุชธรรมสถาน เป็นต้น en
dc.description.abstractalternative This research project focuses on the study of the architectural design in the reign of Kimg Rama V. It explores various factors, which have had long lasting impacts on Thai architectural design and on society as a whole up to the present days. The main emphasis is an examination of the prominent architectural designs which were designed by both Thai and foreign architectures during King Rama V period through both documentary as well as primary researches, i.e. field research. The research findings are as follow (1) The impact of Western architecture on the Thai traditional ways of life and Thai society has been significant since King Rama V era. (2) The architecture developed under King rama V is considered as a key turning point for development of Thai society. The designs adopted reflect the adaptation and application of modern technology or Western style to the Thai society. The designs were also popular among the rural class as well as middle class. (3) One crucial factor contributing to the popularity of Western architectural design is the fact that it was preferred and adopted by King Rama V. (4) The adoption of Western architectural designs also reflects the hidden agenda of King Rama V in an attempt to show the world that Thailand is also modernized and civilized. Wat Nivesthampravat well illustrated such Western architectural influence and design (5) It is also evident that the development plan of Thailand at this time was already an integrative and interdisciplinary one. The plan combines various fields in an attempt to modernize the country along Western line including government economics engineering architecture and medicine. (6) There was three architectural designs under the period of study: 6.1 The origin Western style. 6.2 The mixed Thai-Western style. 6.3 The original/traditional Thai style. It is worth nothing that there is a common thread among the three styles mentioned above. All style maintain the uniqueness of the Royal architectural design, i.e. compose of very delicate and elegant pattern which in turn reflects the uniqueness of the owner of the work. It is also recommended that more studies on the architectural designs under King Rama V and other architectural designs and their impact on Thai society should be encouraged. en
dc.description.sponsorship ทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 13581886 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453 en
dc.subject สถาปัตยกรรม -- ไทย en
dc.subject สถาปัตยกรรมไทย en
dc.subject ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5 en
dc.title สถาปัตยกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทย : เอกสารงานวิจัย en
dc.type Technical Report es
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record