dc.contributor.author | บุษกร สำโรงทอง | th |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | th |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคกลาง) | |
dc.date.accessioned | 2011-05-04T09:31:59Z | |
dc.date.available | 2011-05-04T09:31:59Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15157 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาด้านวัฒนธรรมดนตรีของภาคอีสานใต้และภาคกลาง โดยการเก็บข้อมูลจากศิลปินดนตรีพื้นบ้านในเขตอีสานใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ สระแก้ว ศรีสะเกษ อุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา และในภาคกลาง 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ฉะเชิงเทรา กาฐจนบุรี ลพบุรี นครปฐม ปทุมธานี ปราจีนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท นครนายก นนทบุรี อุทัยธานี และ กรุงเทพมหานคร จากการศึกษาพบว่า ดนตรีที่มีชื่อเสียงของภาคอีสานใต้ ได้แก่ วงกันตรึม วงมโหรีเขมร วงปี่พาทย์พื้นบ้านและวงมะม้วด ส่วนดนตรีประเภทหมอลำเป็นที่นิยมในจังหวัดอุบลราชธานีเพียงจังหวัดเดียว ในเขตภาคกลางมีดนตรีประเภทเพลงร้องเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่เพลงพื้นบ้านของชุมชนต่างๆเช่นเพลงพื้นบ้านท่าโพธิ์ของชาวตำบลท่าโพธิ์ จังหวัดอุทัยธานี หรือเพลงเหย่ย และเพลงร่อยพรรษาของจังหวัดกาญจนบุรี เพลงพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักในภาคกลางทั่วไปได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงขอทาน เพลงเรือ เพลงพวงมาลัย เพลงหางเครื่อง เพลงกล่อมลูก เพลงปรบไก่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรำโทนและกลองยาวในบางพื้นที่ จังหวัดที่มีวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีแบบมอญ ได้แก่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีการร้องและบรรเลงเพลงทะแยมอญ จังหวัดที่มีวัฒนธรรมดนตรีลาว ได้แก่ จังหวัดนครนายกซึ่งมีการลำพวน เป็นต้น งานวิจัยค้นพบข้อสรุปของวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในด้านพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ดนตรีว่า มีการสืบทอดต่อไปจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งแบบมุขปาฐะ มีอิทธิพลความเชื่อทางพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องในการประกอบพิธีกรรม ศิลปินเป็นผู้ที่มีบทบาททั้งด้านการอนุรักษ์และการจัดการวัฒนธรรมซึ่งทำให้วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านยังคงมีความเข้มแข็งเช่นเดียวกับที่ผ่านมาในอดีต | en |
dc.description.abstractalternative | This research project focused on the study of Thai musical culture in two regions. The Lower Northeast and the Middle region. The former is comprised of the Burirum, Surin, Sagaew, Si Saked, Ubonrachathani and Nakornracgasima provinces whereas the latter consists of the Angthong, Ayudhaya, Bangkok, Chacheongsaow, Chainad, Kanchanaburi, Lopburi, Nakorn Nayok, Nakornprathom, Nonthaburi, Pathumthani, Prajinburi, Rachaburi, Samuthprakarn, Samuthsongkram, Samuthsakorn, Saraburi, Singhaburi, Supanburi and Uthaithani provinces. The field research was conducted by interviewing the prominent musicians of these two regions. The study found that the distinguishing musical genres of the Lower Northeastern Regions are known as Kantreom, Mahori Khamere, Phipat and Mamoud. However, Moh Lum is notable only in the Ubonrachathani area. Music in the Middle Region of Thailand is characterized by the type of vocal music found in the Tha Pho sub-district of the Uthai Thani province which is Known as Phleng Peon Ban Tha Po as well as Phleng yeoi, Phleng Roi-Pansa which are found in Kanchanaburi province. The notable vocal music of the Middle region consists of the Phleng Choi, Phleng Ei-Saew, Phleng Koh tan, Pheng Roc, Phleng Phoungmalai, Phleng Hangkroeng, Phleng Krom Luk, Phleng Phrob Kai, etc. In some locations Rum Thon and Klong Yaw were found. Some characteristics of the Mon style of music were discovered in the Samuthsakorn, Samuthsongkram, Samuthprakarn, and Nonthaburi provinces in which the Thayae Mon is performed. The research findings showed that the beliefs and rites conveyed in the music of this region are subject both to intergenerational musical transmission as well as the influence of their Buddhist traditions. These leading musicians play two roles. They function both as a curator and manager for the continuation of their musical culture since it was discovered that in most locations, the traditional musical roots remain just as deep and strong today as in the past. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2549 | en |
dc.format.extent | 55455421 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | en |
dc.subject | ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคกลาง) | en |
dc.title | วัฒนธรรมดนตรีไทย ภาคกลาง และภาคอีสานใต้ : พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ : รายงานวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Bussakorn.S@Chula.ac.th |