dc.contributor.author | ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2011-06-06T07:33:22Z | |
dc.date.available | 2011-06-06T07:33:22Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15261 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสร้างเครื่องดนตรีในภาคอีสานใต้และภาคกลาง เพื่อทราบถึงกรรมวิธีการสร้างเครื่องดนตรีของช่างทำเครื่องดนตรีในแต่ละท้องถิ่น โดยมุ่งศึกษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่และจะเข้ รวมถึงกลองที่เป็นนิยมในภาคอีสานใต้และภาคกลาง ได้แก่ กลองกันตรึมและกลองยาว จากการศึกษาถึงวิธีการสร้างกระจับปี่พบว่าช่างทำกระจับปี่ที่มีชื่อเสียง ๒ ท่าน มีกรรมวิธีที่แตกต่างกันโดยเฉพาะในเรื่องความทันสมัยของเครื่องมือ และวัสดุที่ใช้ในการขึ้นสาย ซึ่งส่งผลให้ได้คุณภาพเสียงกระจับปี่ที่มีความดังต่างกัน จากการศึกษาถึงวิธีการสร้างกลองกันตรึมพบว่าช่างทำกลองกันตรึมส่วนใหญ่มักเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่หาได้ในท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่มักทำหุ่นกลองจากไม้และหนังด้วยหนังงูเหลือมยกเว้นกลองที่ใช้ในพิธีทรงแม่มดรักษาโรคนั้นต้องทำจากดินเผาและขึ้นหน้ากลองด้วยหนังตะกวดตามความเชื่อว่าจะทำให้พิธีสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนกรรมวิธีการสร้างนั้นมีทั้งที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านและการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย จากการศึกษาวิธีการสร้างจะเข้พบว่าช่างทำจะเข้ส่วนใหญ่มักเป็นเจ้าของโรงงานทำเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้มีกรรมวิธีการสร้างและการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ทว่าในบรรดาช่างทำจะเข้ทั้ง ๔ ท่านนั้นมีช่างทำจะเข้ท่านหนึ่งที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป โดยให้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษในขั้นตอนการตกแต่งเสียง ซึ่งอาศัยระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างมากและเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างไปจากช่างท่านอื่น จากการศึกษาถึงวิธีการสร้างกลองยาวพบว่าอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นหมู่บ้านทำกลองที่มีช่างทำกลองอาศัยอยู่มากที่สุด ซึ่งช่างส่วนใหญ่ได้สืบทอดวิชาชีพการทำกลองยาวมาจากบรรพบุรุษ อีกทั้งพบช่างทำกลองยาวที่มีชื่อเสียงอยู่ในจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทราอยู่บ้าง โดยช่างทำกลองยาวที่ผู้วิจัยทำการศึกษาในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นช่างทำผลิตกลองรายใหญ่ทำให้มีเครื่องมือและกรรมวิธีการผลิตที่ค่อนข้างทันสมัย ทว่ามีช่างบางท่านยังคงใช้เครื่องมือขนาดเล็ก บางท่านได้สั่งทำหุ่นกลองจากอำเภอป่าโมกมาขึ้นหน้าเอง และจากการศึกษาเรื่องวัสดุที่ใช้ในการทำกลองยาวพบว่าช่างส่วนใหญ่เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกันจะแตกต่างกันตรงที่ขนาดและรูปทรงของกลองซึ่งเป็นไปตามความชอบของช่างแต่ละท่าน | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study the process of making musical instruments in the southern area of E-sarn region and the central region of Thailand. The scope of this research includes two types of musical instruments: the lutes and the drums found in the southern area E-sarn region and the central part of Thailand. Four instruments are the subjects of this research projects: (1) the kracapi of the southern E-sarn region; (2) the kantruem drum of the southern E-sarn region; (3) the Jakhay of the central part of Thailand. According to the research findings, two masters of making the kracapi are found. Their making process is different. They use modern tools, which result in the differences of sound quality. The makers of kantruem drums in the southern E-sarn region usually obtain tools within their community. The body of the drum is made from wood. The drumhead is made of snake skin. Only the healing drum used in the Songmod Ritual is made of ceramics, and most importantly, the drumhead is made of lizard hide. The healers believe that the lizard drumhead would make the ritual more powerful. The instrument makers use both local techniques and modern tools. In the central part of Thailand, the Jakhays are made by the instrument factories. The Jakhay makers use modern tools in the large factories. Amongst the four instrument makers, one Jakhay maker has the different process of making the instrument. His process takes much time more than other instrument makers because each process is much more time-consuming. In the southern area of E-sarn region, the long drum makers are found in Pamok district of Anghong province more than other areas. They learned the process of making long drums from their ancestors. The famous long drum makers are also found in Pathumthanee, Ayuthaya, and Chacheongsao. The research findings show that the long drum makers prefer to use modern tools. Some long drum makers still use small tools. In conclusion, most instrument makers use similar tools but the size of drums and instruments are different according to the preference of each maker. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2549 | en |
dc.format.extent | 19326828 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เครื่องดนตรีไทย | en |
dc.title | การสร้างและคุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีไทย ภาคอีสานใต้และภาคกลาง : รายงานวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | pakorn.jk@hotmail.com |