dc.contributor.advisor |
วันชัย มีชาติ |
|
dc.contributor.author |
อรมณี สุนทรนนท์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2011-12-23T11:16:10Z |
|
dc.date.available |
2011-12-23T11:16:10Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16440 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
en |
dc.description.abstract |
ศึกษาถึงความสำคัญของปัจจัยด้านทัศนคติ จิตใจของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติทั้งที่อยู่ในหน่วยงานหรือองค์การ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากในการส่งผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ โดยอาศัยกรอบแนวคิดของทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติของนักทฤษฎีคือ แวน มีเตอร์ และแวน ฮอร์น มาใช้ และได้เลือกนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานในขอบเขตของการนำนโยบายมาปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและสถานประกอบการเอกชน เป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัย โดยการวิจัยในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูล ได้มาจากการสังเกตการณ์ และสัมภาษณ์เชิงลึกข้าราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และผู้ประกอบการหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับการนำนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไปปฏิบัติของสถานประกอบการเอกชนในธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการทำแบบสอบถามกลุ่มสถานประกอบการเอกชน จำนวน 400 แห่ง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงตรรกะ การวิเคราะห์หาการกระจายของข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการ วิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทัศนคติ ความคิดอ่าน และจิตใจของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมาก และมีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ทั้งการนำนโยบายไปปฏิบัติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและสถานประกอบการ เนื่องจากพบว่า ปัจจัยทัศนคติ ความคิดอ่าน และจิตใจของผู้นำนโยบายไปปฏิบัตินี้ เป็นลักษณะภายในของตัวผู้ปฏิบัติทุกคนก่อนที่จะสื่อการกระทำออกมาภายนอกโดยตรง และเป็นปัจจัยที่มักจะได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยอื่นๆ ค่อนข้างมาก ก่อนที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติ และยังพบว่าทุกปัจจัยตามกรอบแนวคิดมีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโอกาสในการนำนโยบายไปปฏิบัติของผู้ปฏิบัติ ได้แก่ ปัจจัยมาตรฐานและทรัพยากรของนโยบาย และปัจจัยลักษณะองค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ตามลำดับ |
en |
dc.description.abstractalternative |
To investigate and identify the influence of dispositions or attitudes of implementators who are in public and private sector in the policy implementation process. By using the conception of framework of Van Meter and Van Horn’s policy implementation theory and choose the Skill Development Promotion Policy for labor to be case study. In the research, qualitative methods involved unstructured observation, the in- depth interviewing from 2 sample groups (the bureaucracy of Department of Skill Development and the Entrepreneurs of industry, commerce and service business in Bangkok area). Quantitative method using questionnaires from 400 entrepreneurs and analyzed by analysis induction, mean, standard deviation, correlation coefficient and simple and multiple binary logistic regression analysis. The findings were 1) The dispositions or attitudes of implementators factor is very important factor. Since it is every implementators’ internal condition before acting directly and other factors have positive relation with it, then affecting performance later. 2) All factors effecting performance. 3) There are 2 significant risk factors explained the variation of implementators performance by 24 percent. Risk factors affecting performance significantly included: 1) standards and resources of policy factor and 2) characteristics of the implementing agencies factor. |
en |
dc.format.extent |
2089019 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.629 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การนำนโยบายไปปฏิบัติ |
en |
dc.subject |
นโยบายแรงงาน -- ไทย |
en |
dc.subject |
แรงงานฝีมือ |
en |
dc.title |
ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงาน |
en |
dc.title.alternative |
The disposition of implementators in the policy implementation process of skill development promotion policy |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Vanchai.M@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2009.629 |
|