DSpace Repository

ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงในผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงภายในโพรงกะโหลกศีรษะตีบ โดยไม่มีการตีบของหลอดเลือดแดง อินเทอร์นอลคาโรติด ส่วนนอกโพรงกะโหลกศีรษะกับผู้ที่มีการตีบของหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลคาโรติด ส่วนนอกโพรงกะโหลกศีรษะ

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิจศรี ชาญณรงค์
dc.contributor.advisor กัมมันต์ พันธุมจินดา
dc.contributor.author อรอุมา ชุติเนตร, 2514-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-09-16T05:44:27Z
dc.date.available 2006-09-16T05:44:27Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741770464
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2520
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์: ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองตีบ การตีบของหลอดเลือดแดงภายในโพรงกะโหลกศีรษะ เป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองชาวเอเชีย เพื่อการศึกษาความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลต่อการตีบของหลอดเลือดแดงในตำแหน่งที่ต่างกัน ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบในคนไทย วิธีวิจัย: ผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะสมองขาดเลือดหรือ Transient ischemic attack หรือ Ocular stroke จะได้รับการตรวจหลอดเลือดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูตำแหน่งของหลอดเลือดตีบ ผู้ที่มีหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลคาโรติดส่วนนอกโพรงกะโหลกศีรษะตีบมากกว่า 50% จัดเป็นกลุ่มหลอดเลือดแดงที่คอตีบ ส่วนผู้ที่มีหลอดเลือดแดงในสมองตีบมากกว่า 50% โดยไม่มีการตีบของอินเทอร์นอลคาโรติด จัดเป็นกลุ่มหลอดเลือดแดงในสมองตีบ แล้วนำปัจจัยเสี่ยงมาเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม โดยใช้วิธี การทางสถิติ ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ 432 คน มีกลุ่มหลอดเลือดแดงในสมองตีบ 90 คน กลุ่มหลอดเลือดแดงที่คอตีบ 64 คน พบว่ากลุ่มหลอดเลือดแดงที่คอตีบมีอายุมากกว่า ส่วนเพศ, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, ภาวะไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่และดื่มสุรา ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบโรคเบาหวานในกลุ่มหลอดเลือดแดงในสมองตีบมากกว่าหลอดเลือดแดงที่คอตีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.007) รวมทั้งมีระดับ triglyceride สูงกว่าด้วย (P = 0.033) ในผู้ป่วยชายยังพบว่าความยาวคอสั้นมีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยกลุ่มหลอดเลือดแดงที่คอตีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) สรุป: โรคเบาหวานพบบ่อยในกลุ่มการตีบของหลอดเลือดแดงใหญ่ในสมองมากกว่าผู้ที่มีการตีบของหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลคาโรติดบริเวณคออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในผู้ป่วยชายพบว่าความยาวคอสั้นมีความสัมพันธ์กับหลอดเลือดแดงที่คอตีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ en
dc.description.abstractalternative Background Objective: Atherosclerosis is one of the major cause of ischemic stroke. Intracranial large-artery occlusive disease is the predominant vascular lesion found in Asian stroke patients. We probe for factors that may determine the site of vascular lesion in Thai population. Methods: Consecutive patients with the clinical syndrome of stroke or transient ischemic attack or ocular stroke were studied. Carotid duplex and transcranial ultrasound were performed in all cases to determine the site of atherosclerosis. Patients with stenosis of extracranial internal carotid artery more than 50 % were classified as extracranial carotid stenosis group whereas those without or less than 50% extracranial stenosis with evidence of intracranial large artery disease were classified as intracranial arterial stenosis group. The established stroke risk factors and the inflammatory markers were then compared. The independent t test and x[superscript 2] test were used to ascess differences between the two groups. Results: Four hundred and thirty-two stroke patients were screened. There were 90 cases in the intracranial arterial stenosis group and 64 cases with extracranial carotid stenosis group. There is a trend towards older age in the extracranial carotid stenosis group. Sex , hypertension , ischemic heart disease , dyslipidemia , smoking history and drinking habit were not different between the two groups. The presence of diabetes mellitus was found to be significantly more prevalent among patients with intracranial arterial stenosis group. ( P = 0.007) Triglyceride was significantly higher in patients with intracranial arterial stenosis. In male patients, neck length was significantly shorter in the extracranial carotid stenosis group. (P = 0.001) Conclusions: Diabetes mellitus was found to be more significantly prevalent in patients with intracranial arterial stenosis without significant extracranial carotid stenosis. Triglyceride was significantly higher in patients with intracranial arterial stenosis. Neck length was significantly shorter in patients with extracranial internal carotid disease. en
dc.format.extent 972113 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject หลอดเลือดสมอง -- โรค en
dc.subject หลอดเลือดแดงแข็ง en
dc.title ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงในผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงภายในโพรงกะโหลกศีรษะตีบ โดยไม่มีการตีบของหลอดเลือดแดง อินเทอร์นอลคาโรติด ส่วนนอกโพรงกะโหลกศีรษะกับผู้ที่มีการตีบของหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลคาโรติด ส่วนนอกโพรงกะโหลกศีรษะ en
dc.title.alternative Comparison of atherosclerotic risk factors between patients with intracranial arterial stenosis without significant extracranial carotid stenosis and patients with extracranial carotid stenosis en
dc.type Thesis en
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Kammant.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record