DSpace Repository

ประเด็นปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดราคาขายปลีกน้ำตาลทรายในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.author ศิริวรรณ เจียมใจไพบูลย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2013-05-29T07:39:52Z
dc.date.available 2013-05-29T07:39:52Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31574
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ราคาของสินค้าและบริการเป็นไปตาม “กลไกราคา” (price mechanism) กล่าวคือ ราคาสินค้าแปละบริการจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน เมื่อสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดแต่ปริมาณสินค้ามีน้อย สินค้าก็จะมีราคาสูง ในขณะเดียวกันหากสินค้าเป็นที่ต้องการในตลาดต่ำ แต่มีปริมาณสินค้าน้อย ราคาสินค้าก็จะต่ำลง จนในที่สุดปริมาณและราคาของสินค้าก็จะสมดุลกันในจุดที่เรียกว่า “จุดดุลยภาพ” ซึ่งกลไกราคาข้างต้นเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดราคาขายต่อ คือ ข้อตกลง สัญญา หรือการกระทำใดๆ ที่ผู้ผลิตกำหนดให้ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ขายส่งขายสินค้าหรือบริการของตนในราคาและเงื่อนไขที่ผู้ผลิตกำหนด การกระทำดังกล่าวส่งผลให้ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ขายปลีกไม่มีอิสระในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับผู้จัดจำหน่ายรายนั้นๆ รวมถึงเป็นการจำกัดการแข่งขันในแนวดิ่งระหว่างผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายอีกด้วย โดยหากพิจารณาตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 จะพบว่า พฤติกรรมการกำหนดราคาขายต่อเป็นพฤติกรรมที่ขัดพระราชบัญญัติข้างต้น มาตรา 25 (กรณีผู้กำหนดราคาเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด), มาตรา 27 (กรณีมีการร่วมกันกำหนดราคาขายต่อ) และมาตรา 29 (กรณีขัดขวางการแข่งขันโดยเสรีอย่างไม่เป็นธรรม) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการกำหนดราคาขายต่อเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อหลักกฎหมายการแข่งขันทางการค้า แต่ในสินค้าหรือบริการบางประเภทมีลักษณะเป็นสินค้าหรือบริการที่มีความสำคัญต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน ดังนั้น หากรัฐปล่อยให้ราคาสินค้าหรือบริการเป็นไปตามกลไกลตลาด ก็อาจส่งผลให้ราคาสินค้าหรือบริการมีความผันผวน และส่งผลเสียแก่ผู้บริโภคในที่สุด รัฐจึงมีความจำเป็นในการแทรกแซงราคาสินค้าหรือบริการบางชนิดตามหลัก “PRICE CONTROL” โดยมาตรการต่างๆ เช่น การตรวจตราราคา การตรึงราคา รวมถึงการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ เป็นต้น น้ำตาลทรายเป็นสินค้าที่มีความสำคัญในประเทศไทย เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ และเป็นสินค้าพื้นฐานในครัวเรือนและอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับปริมาณน้ำตาลที่ไม่เพียงพอหรือล้นเกินความต้องการของผู้บริโภค ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก รวมถึงปัญหาการแบ่งปันผลประโยชน์ของการจำหน่ายน้ำตาลทรายระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทราย ดังนั้นรัฐจึงแก้ไขปัญหาโดยการประกาศใช้กฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลทราย คือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ซึ่งมีสาระสำคัญในการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทรายในอัตราส่วน 70 : 30 และพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ซึ่งคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ประกาศให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม รวมถึงกำหนดราคาขายส่งและขายปลีกน้ำตาลทราย เพื่อป้องกันมิให้ราคาน้ำตาลทรายผันผวนตามราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก แต่อย่างไรก็ตามปรากฏว่า จากการกำหนดราคาน้ำตาลทรายในประเทศซึ่งส่งผลให้เกิดความแตกต่างระหว่างราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกและภายในประเทศ มาตรการการกำหนดราคาน้ำตาลทรายจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาปริมาณน้ำตาลทรายที่ไม่เพียงพอได้ รวมถึงยังก่อให้เกิดปัญหาการจำหน่ายน้ำตาลทรายในตลาดมืด ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า รัฐควรใช้ระบบการกำหนดราคาน้ำตาลทราย “กึ่งลอยตัว” กล่าวคือ รัฐควรปล่อยให้ผู้ประกอบการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายอย่างเสรี แต่มิให้ต่ำกว่าเพดานขั้นต่ำ หรือสูงกว่าเพดานขั้นสูงที่รัฐกำหนด เพื่อให้มีความแตกต่างระหว่างราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกและในประเทศน้อยที่สุด มาตรการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ และแก้ไขปัญหาราคาและปริมาณน้ำตาลทรายได้ en
dc.format.extent 2735438 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.301
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับน้ำตาล -- ไทย en
dc.subject การค้าปลีก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย en
dc.subject ข้อบังคับทางการค้า -- ไทย en
dc.subject อุตสาหกรรมน้ำตาล -- ราคา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย en
dc.subject การควบคุมราคา -- ไทย en
dc.subject Sugar laws and legislation -- Thailand en
dc.subject Retail trade -- Law and legislation -- Thailand en
dc.subject Trade regulation -- Thailand en
dc.subject Sugar trade -- Prices -- Law and legislation -- Thailand en
dc.subject Price regulation -- Thailand en
dc.title ประเด็นปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดราคาขายปลีกน้ำตาลทรายในประเทศไทย en
dc.title.alternative Legal issues relating to resale price maintenance of sugar in Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor sakda-boonto@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.301


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record