DSpace Repository

พฤติกรรมการบริโภค ภายใต้พื้นฐานแนวคิดความเคยชนในการบริโภค

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมประวิณ มันประเสริฐ
dc.contributor.author นิรัติศัย ทุมวงษา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2013-06-24T07:31:46Z
dc.date.available 2013-06-24T07:31:46Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32426
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้ ได้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือนไทย ภายใต้พื้นฐานแนวคิดความเคยชินในการบริโภคที่เกิดจากปัจจัยภายในของแต่ละคน โดยได้ทดสอบเบื้องต้นในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และทดสอบในกลุ่มที่มีรายได้น้อย กับกลุ่มที่มีรายได้มาก เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างกัน ทั้งนี้พิจารณาจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด และค่าใช้จ่ายในสินค้า 9 ประเภท ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สินค้าเสพติด เครื่องแต่งกาย ยารักษาโรค อุปกรณ์การบันเทิง-กีฬา การศึกษา และการเดินทาง โดยสร้างข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Pooled Cross-Section จากฐานข้อมูล Cross-Section ตั้งแต่ปี 2531 - 2549 ที่ได้จากการสำรวจเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ทั้งนี้จัดทำโดยนำข้อมูลของครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเกิดปีเดียวกัน ถิ่นที่อยู่อาศัย (ภาค) สถานภาพครัวเรือน อาชีพ การศึกษา และเพศที่เหมือนกัน ในแต่ละปีมาจับคู่กัน เพื่อให้สามารถอธิบายอัตราการเจริญเติบโตของการบริโภคในค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทระหว่างช่วงเวลา เนื่องจากผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือนไทย ภายใต้พื้นฐานแนวคิดความเคยชินในการบริโภค พบว่า การสะสมนิสัยเคยชินของการบริโภคในอดีต ไม่ส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของการบริโภคในครัวเรือนไทย ทั้งจากการอธิบายการบริโภคผ่านค่าใช้จ่ายทั้งหมด และค่าใช้จ่ายในสินค้า 9 ประเภท นอกจากนี้เมื่อแยกประเด็นศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีรายได้น้อย และกลุ่มที่มีรายได้มาก ตลอดจนนำมาแยกปัจจัยทางด้านการศึกษา ถิ่นที่อยู่อาศัย(ภาค) อาชีพ เพศ และสถานภาพครัวเรือน พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของการบริโภคในทุกกลุ่มที่จำแนกออกนั้น ไม่แสดงถึงความเคยชินในการบริโภคเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้ศึกษาอีกประเด็นหนึ่ง คือ ข้อจำกัดสภาพคล่องทางการเงินที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภค อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ครัวเรือนไทยไม่สามารถรักษาระดับการบริโภคมิให้ต่ำกว่าเดิม ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดความเคยชินในการบริโภค ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนไทยโดยรวมมีข้อจำกัดสภาพคล่องทางการเงิน จึงเป็นเหตุให้ไม่พบพฤติกรรมเคยชินในการบริโภคของครัวเรือนไทย ที่เกิดจากปัจจัยภายในของแต่ละคนในอดีต โดยพบข้อจำกัดสภาพคล่องที่มีต่อการบริโภคผ่านอัตราการเจริญเติบโตของการบริโภคในค่าใช้จ่ายทั้งหมด และอัตราการเจริญเติบโตของการบริโภคในค่าใช้จ่ายประเภทอื่น ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องแต่งกาย และการศึกษา en_US
dc.description.abstractalternative The main purpose of this paper is to study the presence of internal habit formation in consumption behavior of Thai household through the total expenditure and other expenditures, including expenditures on food, non-alcohol beverage, alcohol beverage, tobacco, clothing, medicine, recreation equipment, education and transportation. The empirical tests are compared the consumption behavior under internal habit formation model in the middle class of Thai household, low income household and high income household. The estimated process uses Social-Economic Survey data over the period 1988 to 2006, and this data type is the cross-section data that it is adjusted to be the pooled cross-section data by matching the same type of household. The main results can be concluded that there is no existence of internal habit formation in the Thai economy. In addition, comparing between low income household and high income household, there are also no evidence of the internal habit formation. The analysis of the internal habit formation hypothesis that Thai household are divided from the education, the region, the socio-economy, the gender and the household status; moreover, they do not have the result of internal habit formation. Consequently, the second purpose is to test the credit constrained hypothesis in Thai consumption behavior. The conclusion of this research is to constraint the credit results in the main reason of reducing the consumer’s demand. So the consumption behavior is not influenced by the internal habit formation that it is affected through the total expenditure and other expenditures, in which are included food, non-alcohol beverage, alcohol beverage, clothing and education. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1112
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บริโภคกรรม (เศรษฐศาสตร์) -- ไทย en_US
dc.subject นิสัย -- แง่เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.subject บริโภคนิสัย -- ไทย en_US
dc.subject การสำรวจตลาด -- ไทย en_US
dc.subject บริโภคกรรม (เศรษฐศาสตร์) -- การสำรวจ en_US
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย en_US
dc.subject Consumption (Economics) -- Thailand en_US
dc.subject Habit -- Economic aspects en_US
dc.subject Food habits -- Thailand en_US
dc.subject Market surveys -- Thailand en_US
dc.subject Consumption (Economics) -- Surveys en_US
dc.subject Consumer behavior -- Thailand en_US
dc.title พฤติกรรมการบริโภค ภายใต้พื้นฐานแนวคิดความเคยชนในการบริโภค en_US
dc.title.alternative Consumption behavior under internal habit formation en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Somprawin.m@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1112


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record