DSpace Repository

การนำเสนอเนื้อหานิตยสารการ์ตูนและความสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ตามกรอบนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว

Show simple item record

dc.contributor.advisor พนม คลี่ฉายา
dc.contributor.author ธีรติร์ บรรเทิง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2013-06-26T03:27:40Z
dc.date.available 2013-06-26T03:27:40Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32516
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อสำรวจเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในนิตยสารการ์ตูนและรูปแบบการนำเสนอในนิตยสารการ์ตูน (2) เพื่อเปรียบเทียบเนื้อหาการพัฒนาเด็กและเยาวชนในนิตยสารการ์ตูนกับนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว พ.ศ. 2545-2554 และ (3) เพื่ออธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนของนิตยสารการ์ตูน ดำเนินการวิจัยเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหา นิตยสารทีวีแมกกาซีน นิตยสารอนิแม็ก นิตยสารทีวีแมกกาซีนฮีโร่ และนิตยสารเซนชู ในระหว่างปี พ.ศ.2550-2553 จำนวน 39 ฉบับ นำผลการวิเคราะห์เนื้อหามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว พ.ศ. 2545-2554 จากนั้นสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้อ่านนิตยสารการ์ตูน จำนวน 5 คน และผู้จัดทำนิตยสารการ์ตูน จำนวน 4 คน ผลการวิเคราะห์เนื้อหานิตยสารการ์ตูนในภาพรวมพบว่า มีการนำเสนอเนื้อหาการพัฒนาเด็กและเยาวชนด้านความคิดมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาตนเองและด้านการงาน มีรูปแบบการนำเสนอแบบรูปภาพมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาในนิตยสารการ์ตูนแต่ละฉบับพบว่า นิตยสารทีวีแมกกาซีน มีเนื้อหาด้านความกล้าแสดงออกมากที่สุด นิตยสารอนิแม็ก มีเนื้อหาด้านส่งเสริมการอ่านหนังสือมากที่สุด นิตยสารทีวีแมกกาซีนฮีโร่ และนิตยสารเซนชูมีเนื้อหาด้านการสร้างสรรค์ผลงานมากที่สุด ในด้านผู้อ่านนิตยสารการ์ตูนพบว่า มีการรับรู้เนื้อหาการพัฒนาเด็กและเยาวชนจากนิตยสารการ์ตูนกับเนื้อหาที่ปรากฏในนิตยสารการ์ตูน ยกเว้นประเด็นด้านความรับผิดชอบ เป็นประเด็นที่ผู้อ่านไม่มีการรับรู้ และมีการรับรู้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในนิตยสารการ์ตูน ได้แก่ รูปภาพ บทความ และเกม นอกจากนี้ การวิเคราะห์เปรียบเทียบเนื้อหาการพัฒนาเด็กและเยาวชนในนิตยสารการ์ตูนกับนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว พ.ศ. 2545-2554 พบว่าเนื้อหาที่ปรากฏในนิตยสารการ์ตูนมีความสอดคล้องกับนโยบายฯ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ความผูกพันในครอบครัว สุขภาพ การป้องกันโรคและสิ่งเสพติด คุณธรรมจริยธรรม การช่วยเหลือสังคม และไม่สอดคล้องในบางเรื่อง เช่น การทำงานสุจริต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในนิตยสารการ์ตูนของผู้จัดทำนิตยสารการ์ตูน ได้แก่ ปรัชญาวิชาชีพ นโยบายขององค์กร การคัดเลือกเนื้อหา ปัญหาการทำงาน การตลาด นโยบายภาครัฐ และผู้อ่านนิตยสาร en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this research are (1) To survey the content and presentation of child and youth development in cartoon magazines (2) To compare the content of child and youth development in cartoon magazines with 2002-2011 national youth policy, and children-and-youth long-term development plan and (3) To describe the factors concerned the content presentation of child and youth development in cartoon magazines. The research procedure begins with content analysis 39 issues of cartoon magazines; TV Magazine, Animag, TV Magazine Hero and Zenshu Anime Magazine, which were distributed during the year 2007-2010. Then, comparing the contents of child and youth development in cartoon magazines with 2002-2011 national youth policy, and children-and-youth long-term development plan is conducted in addition; the in-depth interview is conducted with 4 readers and 5 magazine editors. The results of content analysis shows that most of the presentations of content in 4 cartoon magazines is thinking concept , self-development concept and work concept respectively. The most presentation technique is illustration. Comparing the children and youth development content among 4 cartoon magazines find that, TV Magazine mostly present courage concept, Animag mostly present encourage in reading concept, and TV Magazine Hero and Zenshu Anime Magazine mostly present contains creation concept. Readers perceive children and youth development concept as presented in cartoon magazines. They also perceive the presentation in form of illustration, article and game. In addition, comparing 2002-2011 national youth policy, and children-and-youth long-term development plan with content of child and youth development in cartoon magazines, the finding shows that cartoon content align with children and youth development plan. Furthermore, interviewing cartoon magazine editors shows that the factors concerned with content presentation are professional philosophy, policies of the organization, content selection, working problems, marketing, government policy and readers. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.143
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject วารสาร -- แง่สังคม en_US
dc.subject วารสารไทย -- แง่สังคม en_US
dc.subject การ์ตูนกับเด็ก en_US
dc.subject เยาวชน -- นโยบายของรัฐ -- ไทย en_US
dc.subject การวิเคราะห์เนื้อหา en_US
dc.subject Periodicals -- Social aspects en_US
dc.subject Thai periodicals -- Social aspects en_US
dc.subject Cartoons and children en_US
dc.subject Youth -- Government policy -- Thailand en_US
dc.subject Content analysis (Communication) en_US
dc.title การนำเสนอเนื้อหานิตยสารการ์ตูนและความสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ตามกรอบนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว en_US
dc.title.alternative National youth policy, and children-and-youth long-term development plan and content presentation of cartoon magazines en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิเทศศาสตรพัฒนาการ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor phnom.k@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.143


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record