DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งของหลอดเลือดแดง การทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงเล็กและการฝ่อของเนื้อสมองสีขาวใต้ผิวสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิจศรี ชาญณรงค์ en_US
dc.contributor.advisor ปาจรีย์ จริยวิลาศกุล en_US
dc.contributor.author ดวงนภา รุ่งพิบูลโสภิษฐ์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:39:01Z
dc.date.available 2015-06-24T06:39:01Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43518
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract บทนำ:การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงทางโรคหัวใจและหลอดเลือด อันได้แก่ ความแข็งของหลอดเลือดและความผิดปกติของการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด มีส่วนสำคัญต่อการทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบในอนาคต วัตถุประสงค์ :เพื่อศึกษาความแตกต่างของความแข็งของหลอดเลือด และการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดชนิดหลอดเลือดสมองขนาดเล็กตีบในระยะเฉียบพลันที่ภาพถ่ายรังสีสมองมีการฝ่อของเนื้อสมองสีขาวใต้ผิวสมองเปรียบเทียบกับประชากรที่ไม่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอื่นๆกับความแข็งของหลอดเลือดแดงและการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด วัสดุและวิธีการ : ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดชนิดหลอดเลือดสมองขนาดเล็กตีบในระยะเฉียบพลันที่ภาพถ่ายรังสีสมองพบลักษณะการฝ่อของเนื้อสมองสีขาวใต้ผิวสมอง 20 ราย ที่มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2555 ถึง เดือน กันยายน 2556 และกลุ่มประชากรที่ไม่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง(กลุ่มควบคุม) 20 ราย โดยอายุและเพศของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ตรวจวัดความแข็งของหลอดเลือดแดงโดยการวัดค่า Carotid Femoral-Pulse Wave Velocity (CF-PWV) ด้วยเครื่อง Sphymocor apparatus และตรวจการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดโดยการวัด Reactive Hyperemia Index (RHI) ด้วยเครื่อง Endopat 2000 ผลการศึกษา : CF-PWV ของทั้ง 2 กลุ่มการศึกษามีความแตกต่างกัน (10.53±2.35 ม./วินาที และ 7.73±1.43 ม./วินาที ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขนาดเล็กตีบในระยะเฉียบพลันที่ภาพถ่ายรังสีสมองพบลักษณะการฝ่อของเนื้อสมองสีขาวใต้ผิวสมองและกลุ่มควบคุม ตามลำดับ , p<0.001 ) ในทางตรงกันข้ามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างค่า RHI ของทั้งสองกลุ่ม การวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเบื้องต้นพบว่าการเป็นโรคหลอดเลือดสมองขนาดเล็กตีบในระยะเฉียบพลันที่ภาพถ่ายรังสีสมองพบลักษณะการฝ่อของเนื้อสมองสีขาวใต้ผิวสมองและดัชนีมวลกายอาจเป็นปัจจัยพยากรณ์ความแข็งของหลอดเลือดแดงและจากการวิเคราะห์การถดถอยแบบโลจิสติกเบื้องต้นพบว่า CF-PWV อาจเป็นปัจจัยพยากรณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองขนาดเล็กตีบในระยะเฉียบพลันที่ภาพถ่ายรังสีสมองพบลักษณะการฝ่อของเนื้อสมองสีขาวใต้ผิวสมอง สรุป : ความแข็งของหลอดเลือดแดงมากขึ้นอาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองขนาดเล็กตีบในระยะเฉียบพลันที่ภาพถ่ายรังสีสมองพบลักษณะการฝ่อของเนื้อสมองสีขาวใต้ผิวสมองและดัชนีมวลกายที่มากขึ้นอาจเป็นปัจจัยพยากรณ์ความแข็งของหลอดเลือดที่มากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative Introduction : To assess emerging cardiovascular risk factors especially arterial stiffness and endothelial function as important predictors in stroke . Objective: To determine the difference of arterial stiffness and endothelial function in patients with subcortical white matter atrophy and normal subjects, and to elucidate the related factors. Methods: This study evaluated a total of 20 gender- and age- matched between acute ischemic stroke patients with subcortical white matter atrophy, admitted to the Stroke Unit at King Chulalongkorn Memorial Hospital between December 2012 and September 2013, and normal subjects (controls). Carotid Femoral pulse wave velocity (CF-PWV) which represents arterial stiffness was measure using Sphymocor apparatus and Reactive Hyperemia Index (RHI) which represent endothelial function was measured using Endopat 2000. Result: CF-PWV was different between the two groups (10.53±2.35 vs 7.73±1.43 m/s in stroke patients and controls, respectively, p < 0.001). In contrast, no statistically significant different seen in RHI. Preliminary multiple linear regression showed that acute ischemic stroke with subcortical white matter atrophy and Body Mass Index (BMI) may be predictors of arterial stiffness and logistic regression showed that CF-PWV may be a predictor of acute ischemic stroke with subcortical white matter atrophy in this cross-sectional study. Conclusion: Arterial stiffness may increase in ischemic stroke patients with subcortical white matter atrophy and BMI may be independent predictor of CF-PWV. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.990
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject หลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วย
dc.subject หลอดเลือดแดงแข็ง
dc.subject หลอดเลือด -- โรค
dc.subject Cerebrovascular disease -- Patients
dc.subject Atherosclerosis
dc.subject Blood-vessels -- Diseases
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งของหลอดเลือดแดง การทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด กับการเกิดโรคหลอดเลือดแดงเล็กและการฝ่อของเนื้อสมองสีขาวใต้ผิวสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน en_US
dc.title.alternative RELATIONSHIPS BETWEEN ARTERIAL STIFFNESS, ENDOTHELIAL FUNCTION AND ACUTE ISCHEMIC STROKE PATIENTS WITH SUBCORTICAL WHITE MATTER ATROPHY en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Nijasris@yahoo.com en_US
dc.email.advisor pajaree_l@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.990


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record