DSpace Repository

การประเมินความต้องการจำเป็นของครูในการใช้วินัยเชิงบวกกับเด็กวัยอนุบาล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
dc.contributor.author พุทธรักษา ก้อนแก้ว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-09-02T06:05:51Z
dc.date.available 2015-09-02T06:05:51Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44878
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของครูในการใช้วินัย เชิงบวกใน 2 ด้าน ประกอบด้วย การจัดบรรยากาศทางจิตวิทยา และการจัดการกับปัญหา (2) เพื่อจัดลำดับ ความต้องการจำเป็นของครูในการใช้วินัยเชิงบวก (3) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการใช้วินัยเชิงบวกสำหรับครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่สอนระดับชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา เขตพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามครูและแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ด้วยวิธีการเปรียบเทียบรายคู่ (Paired-Samples T Test) และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNIModified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1.ค่าเฉลี่ยของคะแนนการใช้วินัยเชิงบวกของครูระหว่างการปฏิบัติจริงกับที่คาดหวังมีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ครูมีความต้องการจำเป็นในการใช้วินัยเชิงบวกทุกด้าน ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการจัดการปัญหา (PNIModified = 0.16) รองลงมา คือ ด้านการจัดบรรยากาศทางจิตวิทยา (PNIModified = 0.15) 3.แนวทางในพัฒนาการใช้วินัยเชิงบวกสำหรับครู แบ่งเป็น 2 บทบาท ดังนี้ 3.1บทบาทผู้บริหาร ได้แก่ การกำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับเด็กและจัดกิจกรรมการเรียน การสอน การจัดสรรงบประมาณ การจัดสรรภาระงาน การจัดให้ครูได้เรียนรู้จากต้นแบบที่ดี การสร้างแหล่งเรียนรู้และกลุ่มเรียนรู้ การสร้างระบบชี้แนะและพี่เลี้ยง การเสริมแรงทางบวก การประเมินผลและติดตามการใช้วินัยเชิงบวก 3.2 บทบาทครู ได้แก่ การแสวงหาความรู้และฝึกปฏิบัติ การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล การจัด บรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การเขียนแผนจัดประสบการณ์และร่างบทสนทนา อย่างละเอียด การจัดคลังวิธีการใช้วินัยเชิงบวก การฝึกฝนความมีสติรู้ตัวและอารมณ์ที่ผ่อนคลาย การฝึกฝนความสามารถในการสังเกตและใส่ใจเด็ก การสะท้อนการปฏิบัติของตนเองสม่ำเสมอ en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were (1) to study the needs of preschool teachers in using positive discipline in two aspects; psychological atmosphere and problem management, (2) to prioritize needs of preschool teachers in using positive discipline and (3) to propose the approaches of developing positive discipline for preschool teachers. The sample was 500 preschool teachers in schools under the Jurisdiction of the Office Primary Education in the Southern region. Research tools were questionnaire and interview. Data were analyzed using frequency, percentage, standard deviation and paired-samples T Test. In adding, Modified Priority Needs Index (PNIModified) and content analysis were use to set priority in terms of need. The research findings were as follows; 1.The mean scores of the current level of positive discipline usage of preschool teacherswere significantly different from the mean scores of the expectation level at .05. 2.Preschool teachers had the needs in improving positive discipline usage in all aspects.The most critical needs was problem management (PNIModified =0.16) followed by psychological atmosphere (PNIModified =0.15). 3.The strategies for improving positive application for preschool teachers were dividedinto 2 categories as followed; 3.1administrator roles; setting up policy to place importance on children and teaching, budget allocation and workload distribution, setting up role modeling for teachers, creating learning resources and learning group, setting up coaching and mentoring system, using reinforcement and supervision for using positive discipline. 3.2teachers role; learning and applying, getting to know each child, creating a classroom atmosphere conducive to good behaviors, preparing lesson plan and dialogues about the use of positive discipline, archiving positive discipline strategies, practicing mindfulness and stress management, being observant and attentive to children, and practicing self reflection en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.178
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การศึกษาขั้นอนุบาล en_US
dc.subject นักเรียนอนุบาล en_US
dc.subject วินัยของเด็ก en_US
dc.subject การประเมินความต้องการจำเป็น en_US
dc.subject Kindergarten en_US
dc.subject Discipline of children en_US
dc.subject Needs assessment en_US
dc.title การประเมินความต้องการจำเป็นของครูในการใช้วินัยเชิงบวกกับเด็กวัยอนุบาล en_US
dc.title.alternative A teachers’ needs assessment in using positive Discipline with preschoolers en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การศึกษาปฐมวัย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor sasilak.k@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.178


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record