dc.contributor.advisor |
ธานี ชัยวัฒน์ |
en_US |
dc.contributor.author |
นิชาภัทร ไม้งาม |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2015-09-18T04:22:39Z |
|
dc.date.available |
2015-09-18T04:22:39Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46158 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
en_US |
dc.description.abstract |
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา สิทธิชุมชนกลายเป็นปัญหาใหญ่ทางสังคม คำว่าสิทธิชุมชนถูกพูดครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 และบัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนเป็นมาตราเฉพาะขึ้นมาในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2550 ทั้งที่ปัญหาสิทธิชุมชนเกิดมาก่อนหน้านี้เป็นเวลานานพร้อมๆ กับนโยบายของรัฐที่ต้องการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครเป็นอีกกรณีหนึ่งโครงการการพัฒนาที่ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่โดยรอบโครงการ ชาวบ้านในพื้นที่รอบๆ นิคมอุตสาหกรรมต้องยอมรับกับสภาพการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะชาวบ้านไม่สามารถใช้แหล่งน้ำตามธรรมชาติได้เนื่องจากเกิดการเน่าเสีย พื้นที่เกษตรกรรมรอบๆ กลายเป็นที่ตั้งของโรงงานและผลผลิตไม่ได้เท่าเดิม ดังนั้น ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันขึ้นภายใต้ชื่อ "เครือข่ายแม่พระธรณี" เพื่อทำหน้าที่ในการปกป้องดูแลรักษาสิทธิชุมชนของตนเองเอาไว้ และหาทางแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาโครงสร้างองค์กร รูปแบบวิธีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิชุมชนของเครือข่ายแม่พระธรณี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ในภาคสนามจากทั้งแกนนำเครือข่ายและชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการปะทะประสานกัน อันจะนำไปสู่กระบวนการพัฒนาที่ชุมชนและนิคมอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไป จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า กลุ่มเครือข่ายแม่พระธรณีมีวัตถุประสงค์ในการต่อสู้เพื่อปกป้องรักษาพื้นที่อาหารเป็นหลัก การเคลื่อนไหวจะไม่ใช้ความรุนแรง ไม่มองคู่ตรงข้ามเป็นศัตรู สร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมด้วยการพูดคุยต่อรอง เพื่อให้ผลสุดท้ายเกิดการยอมรับทั้งฝ่ายของอมตะนครและชาวบ้าน เพราะสุดท้ายแล้วทั้งนิคมอุตสาหกรรมและชาวบ้านจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ต่อไป ดังนั้นการหาจุดร่วมและความร่วมมือกันจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
During the past two decades, community rights has been recognized as one of principle issues in Thai society. It was first proposed to be included in the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2540 (1997), and then in B.E. 2550 (2007), even though the issue of community rights had been with Thai society all along. The Amata Nakorn Industrial Estate is an example of a development project affecting ways of life of people living in the surrounding communities. People could not consume water from natural sources due to waste contamination and low agricultural productivity. Therefore a voluntary establishment is formed under the name “The Mother Earth Network” (Kruea Khai Mae Phra Thoranee), with the mandate to protect their community rights, prevent potential threats and identify solution to their problems. This research is conducted with the aim to study The Mother Earth Network in terms of organizational structures and its strategies as a social movements in claiming community rights for the people. Qualitative research methodology is adapted. Field Techniques include participatory observation and in-depth interview in the Network on sites. The interactions of different stake-holders are studied commented, and negotiated leading to solutions of development with more sustainability and balance. From the preliminary research, it is found that the establishment of the Mother Earth Network with the main objective to protect their food security and adapting peaceful and non-violence approach has yield a positive outcome without undertaking the contestation or hostility concepts, it encourages and keeps focusing on providing space for participation of all stake-holders to reach the consensus with mutual agreement of both villagers and the Estate. The people’s ways of life and businesses to co-exist, sharing of mutual benefits under harmony. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.864 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
นิคมอุตสาหกรรม -- ไทย -- ชลบุรี |
th |
dc.subject |
การมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- ชลบุรี |
th |
dc.subject |
การพัฒนาชุมชน -- ไทย -- ชลบุรี |
th |
dc.subject |
ขบวนการสังคม -- ไทย -- ชลบุรี |
th |
dc.subject |
สิทธิชุมชน -- ไทย -- ชลบุรี |
th |
dc.subject |
นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร |
th |
dc.subject |
Industrial districts -- Thailand -- Chonburi |
en_US |
dc.subject |
Social participation -- Thailand -- Chonburi |
en_US |
dc.subject |
Community development -- Thailand -- Chonburi |
en_US |
dc.subject |
Social movements -- Thailand -- Chonburi |
en_US |
dc.title |
สิทธิชุมชน และ การมีส่วนร่วม ภายใต้กระบวนการพัฒนา กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร |
en_US |
dc.title.alternative |
COMMUNITY RIGHTS AND PARTICIPATION UNDER THE DEVELOPMENT PROCESS: A CASE STUDY OF AMATA NAKORN INDUSTRIAL ESTATE |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์การเมือง |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Thanee.C@Chula.ac.th,thanee.c@gmail.com |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2014.864 |
|