Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางจิตวิทยาต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัยของกลุ่มวัยรุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีจำนวน 300 คน อายุ18-24ปี ใช้วิธีการสุ่มโดยบังเอิญ โดยวัดตัวแปรทั้งสิ้น 4 ตัวแปร ดังนี้ ความตั้งใจ(intention) ทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรม (Attitude Toward the Behavior) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (Subjective Norm) และการรับรู้ความสามารถการควบคุมพฤติกรรม (Perceived Behavioral Control)วัดโดยใช้มาตรวัดที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Francis et al.(2004) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเจตคติต่อการซื้อถุงยางอนามัย (r = .410, p<.01, สองหาง)การคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้าง(r = .685, p<.01, สองหาง)การรับรู้ความสามารถต่อพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัย(r = .355, p<.01, สองหาง) โดยตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัยได้ร้อยละ 50 (R2 = .502) โดย พบว่าการการคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างมีอิทธิพลสูงสุดในการทำนายความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัย (B = .788, β = .591, p < .001) ตามมาด้วยเจตคติต่อการซื้อถุงยางอนามัย(B = .156, β = .153, p < .01) และการรับรู้ความสามารถต่อพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัย(B = .139, β = .064, p < .05) หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์แยกตามเพศชายและหญิงพบว่า การคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างมีอิทธิพลสูงสุดในการทำนายความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัยของกลุ่มตัวอย่างนิสิตเพศชาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (B = .638, β = .513, p < .001) ในขณะที่เพศหญิงการคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างมีอิทธิพลสูงสุดในการทำนายความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัย (B = .638, β = .513, p < .001) ตามมาด้วยเจตคติต่อการซื้อถุงยางอนามัย(B = .236, β = .195, p < .001) โดยเมื่อนำทั้ง 2 กลุ่มมาเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 3 ตัว คือ เจตคติต่อการซื้อถุงยางอนามัย การคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างและการรับรู้ความสามารถต่อพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการทำนายความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัยของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงและชาย