DSpace Repository

อิทธิพลของปัจจัยทางจิตวิทยาต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัย ของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor สักกพัฒน์ งามเอก
dc.contributor.author ชยภูมิ ชูวีระเดช
dc.contributor.author วัชรพล ศิลาวรรณ
dc.contributor.author ตะวันรัตน์ รุ่งปัญญารัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2015-09-30T01:59:55Z
dc.date.available 2015-09-30T01:59:55Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.other PSP5707
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46769
dc.description โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางจิตวิทยาต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัยของกลุ่มวัยรุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีจำนวน 300 คน อายุ18-24ปี ใช้วิธีการสุ่มโดยบังเอิญ โดยวัดตัวแปรทั้งสิ้น 4 ตัวแปร ดังนี้ ความตั้งใจ(intention) ทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรม (Attitude Toward the Behavior) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (Subjective Norm) และการรับรู้ความสามารถการควบคุมพฤติกรรม (Perceived Behavioral Control)วัดโดยใช้มาตรวัดที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Francis et al.(2004) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเจตคติต่อการซื้อถุงยางอนามัย (r = .410, p<.01, สองหาง)การคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้าง(r = .685, p<.01, สองหาง)การรับรู้ความสามารถต่อพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัย(r = .355, p<.01, สองหาง) โดยตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัยได้ร้อยละ 50 (R2 = .502) โดย พบว่าการการคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างมีอิทธิพลสูงสุดในการทำนายความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัย (B = .788, β = .591, p < .001) ตามมาด้วยเจตคติต่อการซื้อถุงยางอนามัย(B = .156, β = .153, p < .01) และการรับรู้ความสามารถต่อพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัย(B = .139, β = .064, p < .05) หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์แยกตามเพศชายและหญิงพบว่า การคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างมีอิทธิพลสูงสุดในการทำนายความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัยของกลุ่มตัวอย่างนิสิตเพศชาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (B = .638, β = .513, p < .001) ในขณะที่เพศหญิงการคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างมีอิทธิพลสูงสุดในการทำนายความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัย (B = .638, β = .513, p < .001) ตามมาด้วยเจตคติต่อการซื้อถุงยางอนามัย(B = .236, β = .195, p < .001) โดยเมื่อนำทั้ง 2 กลุ่มมาเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 3 ตัว คือ เจตคติต่อการซื้อถุงยางอนามัย การคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างและการรับรู้ความสามารถต่อพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการทำนายความตั้งใจในการซื้อถุงยางอนามัยของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงและชาย en_US
dc.description.abstractalternative This objective of this research was to study influence of psychology factors in intention of purchasing condom behavior among students in Bangkok. Participants were 300 college student, age 18-24. Data was analyzed by Enter Multiple Regression. Studied about these 4 factors; Intention of purchasing condom behavior, Attitude Toward the Behavior, Subjective Norm and Perceived Behavioral Control. Research results are as follows: Attitude Toward the Behavior, Subjective Norm and Perceived Behavioral Control were significantly correlated to Intention of purchasing condom behavior (r = .410, r = .685, r = .355, p<.01, two-tailed). Attitude Toward the Behavior, Subjective Norm and Perceived Behavioral Control were significantly predicted Intention of purchasing condom behavior (R2 = .502). All 3 factors had significant standardized coefficient with Subjective Norm had the most influenced to predicted Intention of purchasing condom behavior (B = .788, β = .591, p < .001) followed by Attitude Toward the Behavior (B = .156, β = .153, p < .01) and Perceived Behavioral Control (B = .139, β = .064, p < .05) respectively. By analyzed in separate group (male, female) the results shows that only Subjective Norm had significantly predicted the Male Intention of purchasing condom behavior (B = .638, β = .513, p < .001). While in Female, Subjective Norm (B = .638, β = .513, p < .001) followed by Attitude (B = .236, β = .195, p < .001) had significantly predicted the Intention of purchasing condom behavior. And when compare these 2 groups, the predicted factors had no significantly different in predicted Intention of purchasing condom behavior. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1373
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เพศสัมพันธ์ en_US
dc.subject ถุงยางอนามัย en_US
dc.subject วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ en_US
dc.subject เจตคติ en_US
dc.subject Attitude (Psychology) en_US
dc.subject Condoms en_US
dc.subject Attitude (Psychology) en_US
dc.subject Adolescence -- Sexual behavior en_US
dc.title อิทธิพลของปัจจัยทางจิตวิทยาต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมการซื้อถุงยางอนามัย ของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative INFLUENCE OF PSYCHOLOGY FACTORS IN INTENTION OF PURCHASING CONDOM BEHAVIOR AMONG STUDENTS IN BANGKOK en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor sakkaphat.n@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.1373


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record