Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างนักเรียนที่ ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการใช้คำถามระดับสูง กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ ปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้คำถาม ระดับสูงก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่าง นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการใช้คำถามระดับสูง กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทยแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 72 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มควบคุม 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัด ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่ม ทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถใน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามระดับสูงมี ความคงทนในการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาไทยแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01