DSpace Repository

ผลของการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.

Show simple item record

dc.contributor.author พรศิริ สันทัดรบ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-05-12T02:41:13Z
dc.date.available 2016-05-12T02:41:13Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47549
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างนักเรียนที่ ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการใช้คำถามระดับสูง กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ ปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้คำถาม ระดับสูงก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่าง นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการใช้คำถามระดับสูง กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทยแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 72 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มควบคุม 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัด ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่ม ทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถใน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามระดับสูงมี ความคงทนในการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาไทยแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to (1) compare critical reading abilities of third grade students between groups being taught by using higher order questions and by using conventional approach, (2) compare critical reading abilities of third grade students by using higher order questions before and after study and (3) compare learning retentions of third grade students between groups being taught by using higher order questions and by using conventional approach. The subjects were 72 third grade students. They were divided into two groups; an experimental group with 36 students and a controlled group with 36 students. The data collection instruments were critical reading test. The data were analyzed by means of arithmetic, standard deviation, t-test and analysis of covariance (ANCOVA). The research results were revealed that (1) critical reading ability of third grade students taught by using higher order questions were significantly higher than those taught by using conventional instruction at .01 level of significance (2) critical reading ability of third grade students taught by using higher order questions were significantly higher than before receiving the using instruction at the .01 level of significance, and (3) third grade students being organized Thai learning activities by using higher order questions have Thai learning retentions were significantly higher than those taught by using conventional instruction at .01 level of significance. en_US
dc.description.sponsorship เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2554 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1390
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การตั้งคำถาม en_US
dc.subject การอ่าน -- การทดสอบความสามารถ en_US
dc.subject ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ en_US
dc.title ผลของการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. en_US
dc.title.alternative Effects of using higher order questions on critical reading ability and learning retention of third grade students en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.discipline.code 0804 en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.1390


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record