DSpace Repository

การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองสำหรับนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.author เหมวรรณ ขันมณี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-06-01T04:11:12Z
dc.date.available 2017-06-01T04:11:12Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52927
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองสำหรับนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา โดยกระบวนการพัฒนาชุดการเรียนเริ่มจากการสำรวจความต้องการจำเป็นของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพกลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และสำรวจความคาดหวังของนักเรียนต่อคุณลักษณะของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อนำข้อมูลทั้ง 2 ส่วนมาเป็นกรอบในการจัดทำชุดการเรียนด้วยตนเองให้กับนิสิตนักศึกษา จากนั้นจึงนำชุดการเรียนที่จัดทำขึ้นไปให้นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้สำรวจเนื้อหาและความเหมาะสมในการใช้งานแล้วนำมาปรับปรุงเพื่อให้ได้ชุดการเรียนมีความสมบูรณ์ตามความต้องการของนักศึกษา แล้วจึงนำไปให้นักศึกษาใช้งานจริงในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในภาคเรียนที่ 2 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 5 รายการ ประกอบด้วย 1. แบบสำรวจความต้องการจำเป็นของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา 2. แบบสำรวจความคาดหวังของนักเรียนต่อคุณลักษณะของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 3. แบบประเมินทักษะและสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อคุณลักษณะของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 5. แบบสัมภาษณ์ผลการใช้ชุดการเรียนด้วยตนเองของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความต้องการจำเป็นในด้าน 1) การพัฒนาความรู้และทักษะภาษา อังกฤษของตนเอง 2) การเพิ่มพูนความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและการฝึกฝนการสอนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพ และ 3) การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลังจากใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนทักษะและสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียน โดยมีคะแนนประเมินครั้งสุดท้ายในระดับดีมากซึ่งเป็นระดับการประเมินสูงสุดในทุกรายการ นักเรียนที่เรียนกับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของนักศึกษาสูงกว่าค่าเฉลี่ยความคาดหวังที่ตั้งไว้ ชุดการเรียนด้วยตนเองมีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักศึกษาทำให้นักศึกษาสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของตนจนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to develop a self-learning module for English language professional practices of student teachers in elementary education. The process of development began by identifying the needs of volunteer student teachers along with school students’ expectation on student teachers’ characteristics. Then the self-learning module for professional practices was initiated based on those particular data. Before implementing the module into second semester teaching practice, the volunteer student teachers had tried it out and expressed their opinions and suggestions on what needed to be improved. Finally, the self-learning module was used by those volunteer student teachers. Five instruments were administered for data collection which were, 1. Needs assessment of student teachers in English at elementary level 2. Questionnaire on school students’ expectation on student teachers’ characteristics 3. Assessment form on teaching competence of student teachers in English 4. Questionnaire on students’ satisfaction with student teachers’ characteristics 5. Interview form on the use of self-learning module of volunteer student teachers For data analysis, mean, percentage, and content analysis were employed. It was found that the student teachers needed to 1) develop their knowledge and skills on their English competence 2) acquire the knowledge of teaching and learning English as well as practice their teaching effectively and 3) develop their teaching competence during professional practice period. The results also showed that after using self-learning module, both volunteer student teachers’ scores were higher than ones before using the self-learning module. Moreover, they both could earn the highest scores in all aspects of teaching competence. School students learning with those volunteer student teachers rated their satisfaction on student teachers’ characteristics higher than their expectation in average. The self-learning module served those volunteer student teachers’ needs, so they could deliver lesson learned to their professional practices and finally achieved their goals. en_US
dc.description.sponsorship เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2554 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การฝึกสอน en_US
dc.subject ครูฝึกสอน en_US
dc.subject นักศึกษาครู en_US
dc.subject แบบเรียนสำเร็จรูป en_US
dc.subject การศึกษาด้วยตนเอง en_US
dc.subject ประสบการณ์วิชาชีพครู -- แบบเรียนสำเร็จรูป en_US
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) en_US
dc.title การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองสำหรับนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา en_US
dc.title.alternative Development of self-learning module for English language professional practices of student teachers in elementary education en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.discipline.code 0804 en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record