Abstract:
พื้นที่ภาคตะวันออกของอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ ถูกเลือกเป็นพื้นที่ศึกษาเนื่องจากเป็น บริเวณที่ครอบคลุมด้วยหินอัคนีแทรกซอนหลายชนิด อาทิ หินอัลคาไลน์-เฟลด์สปาร์-ไซยีไนท์ หินไซยีไนท์ หินมอนโซไนท์ หินควอร์ต-มอนโซไนท์ หินควอร์ต-ไดออไรต์ และหินไดออไรต์ โดยมีหินบะซอล์และหินแอน ดีไซต์ แทรกดันหินอัคนีแทรกซอนในลักษณะของผนังหิน ตัวอย่างของหินทั้งหมด 20 ตัวอย่างได้ถูกนำไปวิเคราะห์ทางเคมี โดยใช้เครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer วิเคราะห์ปริมาณธาตุหลักทั้งหมดและธาตุรองบางตัว ในขณะเดียวกันได้ใช้ เครื่อง Colorimeter ( UV-VIS Spectrometer)วิเคราะห์ปริมาณ SiO₂, Al₂O₃, Fe₂O₃ เครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer วิเคราะห์ปริมาณ CaO, MgO, K₂O, Na₂O เพื่อเปรียบเทียบผลจากการ วิเคราะห์ด้วยเครื่อง XRF และปริมาณธาตุหายากวิเคราะห์โดย Neutron Activation Analysis ผลที่ได้จากการวิเคราะห์โดยเครื่อง Colorimeter ( UV-VIS Spectrometer)และเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่ได้จาก XRF มีความแตกต่างกันที่ขัดแย้ง ซึ่งทำ ให้ไม่สามารถสรุปได้ รายงานฉบับนี้จึงใช้ผลที่ได้จากเครื่อง XRF มาพิจารณา ผลการศึกษาปรากฏว่าหินอัคนีแทรกซอนเหล่านี้ประกอบด้วย SiO₂ 44.63 – 72.71%, TiO₂ 0.26 – 2.60 %, Al₂O₃13.39 – 17.52 %, Fe₂O₃ 1.75 – 15.43 %, MnO 0.01 – 0.27 %, MgO 0.19 – 7.12%, CaO 0.44 – 12.69 %, Na₂O 2.25 – 6.92 %, K₂O 0.33 – 5.73 % และ P₂O₅ 0.04 – 0.71%. โดย องค์ประกอบทางเคมีของหินมีการเปลี่ยนแปลงจากหินอัลคาไลน์-เฟลสปาร์ ซายีไนท์ เป็นหินควอตซ์-ไดโอ ไรท์ เป็นหินควอตซ์-มอนโซไนท์ เป็นหินซายีไนท์ และไปเป็นหินมอนโซไนท์ โดยที่มีปริมาณ SiO₂ เพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกับการเพิ่มขึ้นของ NaO และ K₂O ในขณะที่ปริมาณ Al₂O₃, MnO, MgO, CaO, TiO₂ และ P₂O₅ มีปริมาณลดลงเป็นที่น่าสังเกตว่าปริมาณอัลคาไลน์รวม (Na₂O+K₂2O)ของหินของหินซายีไนท์ หินมอนโซไนท์ และหินควอตซ์-มอนโซไนท์มีค่าระหว่าง 9.37-11.06% ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก น่าจะเป็นแหล่งแร่ เฟลด์สปาร์ได้ในอนาคต