Abstract:
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาหินอัคนี บริเวณด้านทิศตะวันออกของอำเภอไพศาลี จังหวัด นครสวรรค์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ออกภาคสนามเพื่อทำแผนที่ธรณีวิทยา ในรายวิชาธรณีสนาม 2 ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551 และพื้นที่ดังกล่าวมีหินอัคนีหลากหลายชนิด ทั้งหินอัคนีบาดาล หินตะกอนภูเขาไฟ และหินอัคนีภูเขาไฟ ผลจากการศึกษาธรณีวิทยาภาคสนาม สามารถสรุปได้ว่าหินที่พบในพื้นที่ประกอบด้วย หินแกรนิต หินบะซอลต์ หินแอนดีไซด์ หินไรโอไรท์ หินแอนดิซิติกทัฟฟ์ หินไรโอริติกทัฟฟ์ หินได โอไรท์ หินสการ์น และหินมาร์เบิล ในด้านความสัมพันธ์ของหินในพื้นที่ ในเบื้องต้นสามารถ ลำดับอายุจากแก่ไปอ่อนได้โดย หินอ่อนและหินสการ์น หินตะกอนภูเขาไฟ หินอัคนีบาดาล และ หินภูเขาไฟ ตามลำดับ จากการศึกษาจากแผ่นหินบาง และการหาปริมาณแร่จากแผ่นหินขัดเรียบ และนำไปพลอตใน Q-A-P DIAGRAM of Plutonic Rocks ของ Steckeisen(1976) ได้ชื่อหินได้แก่ หินอัลคาไลน์-เฟลสปาร์ ซายีไนท์, หินซายีไนท์, หินมอนโซไนท์, หินควอตซ์มอนโซไนท์, หิน ควอตซ์ไดออไรท์ และ หินไดออไรท์ และเมื่อทำการศึกษาด้วยกล้องโพลาไรซิ่ง ไมโครสโคปพบว่ามีลักษณะ texture ปรากฏ อาทิ Micrographic texture , Granophyric texture , Spherulitic texture , Graphic texture , Intrafasiculate texture , trachytic texture และ Plagioclase sphelurite หินอัคนีบริเวณนี้จัดเป็น I-type granite ( Chapple and White,1974) โดยพบหิน หลากหลายชนิด แต่คาดว่าจะมาจากกระเปาะแม็กมาเดียวกัน