dc.contributor.advisor |
ทิพย์นภา หวนสุริยา |
|
dc.contributor.advisor |
สักกพัฒน์ งามเอก |
|
dc.contributor.author |
คุณานนต์ โรจนผาติวงศ์ |
|
dc.contributor.author |
ศศินี อรุณอาภารัตน์ |
|
dc.contributor.author |
อัฏฐพล สกุลชัยวรนันท |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2017-11-27T08:16:57Z |
|
dc.date.available |
2017-11-27T08:16:57Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56104 |
|
dc.description |
โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2015 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการริเริ่มการปรับเปลี่ยนการทำงานและการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ ทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพลของกรอบความความคิดที่ยืดหยุ่นที่มีต่อความทุ่มเทในงานหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในองค์กรเอกชนที่มีอายุงานในองค์กรปัจจุบันอย่างน้อย 3 เดือน จำนวน 206 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ มาตรวัดกรอบความคิดที่ยืดหยุ่น มาตรวัดการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มาตรวัดการริเริ่มปรับเปลี่ยนการทำงาน และมาตรวัดความทุ่มเทในงาน และนำมาวิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (path analysis) ผลการวิเคราะห์พบว่า กรอบความคิดที่ยืดหยุ่นส่งอิทธิพลต่อความทุ่มเทในงาน โดยส่งผ่านการริเริ่มปรับเปลี่ยนการทำงาน และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกรอบความคิดที่ยิดหยุ่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการริเริ่มปรับเปลี่ยนงาน ซึ่งส่งผลต่อความทุ่มเทในงานโดยตรง และโดยอ้อมโดยผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจด้วย อย่างไรก็ตาม โมเดลงานวิจัยนี้ยังไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากเพียงพอ จากการพิจารณาข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผู้วิจัยเห็นว่าควรจะเพิ่มเส้นอิทธิพลทางตรงของกรอบความคิดที่ยืดหยุ่นต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจด้วย โมเดลที่ปรับเปลี่ยนใหม่นี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เก็บรวบรวมมา สุดท้ายผู้วิจัยได้อภิปรายการปรับใช้ผลวิจัยนี้เพื่อการสร้างเสริมความทุ่มเทในงานของพนักงานต่อไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is to examine whether job crafting and empowerment mediate the influence of mindset on work engagement. Participants were 206 employees of private organizations who had been working in the current organization for at least 3 months. Participants responded to mindset scale, psychological empowerment scale, job crafting scale, and work engagement scale. Path analysis revealed that growth mindset significantly influenced work engagement and this influence was mediated by job crafting and psychological empowerment. Specifically, Growth mindset was positively associated with job crafting, which in turn exerted direct influence on work engagement and also had indirect influence on work engagement through psychological empowerment. However, hypothesized model did not adequately fit with the empirical data. The observed correlations among variables suggested that we should also model the direct effect of growth mindset on psychological empowerment. The modified model was consistent with the empirical evidence. The implications of the findings for improving employees work engagement are discussed. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา |
en_US |
dc.subject |
Work -- Psychological aspects |
en_US |
dc.title |
ผลของกรอบความคิดที่ยืดหยุ่นต่อความทุ่มเทในงาน : การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล โดยมีการริเริ่มปรับเปลี่ยนการทำงานและการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน |
en_US |
dc.title.alternative |
EFFECTS OF GROWTH MINDSET ON WORK ENGAGEMENT : PATH ANALYSIS WITH JOB CRAFTING AND PSYCHOLOGICAL EMPOWERMENT AS MEDIATORS |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Thipnapa.H@chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
sakkapat.N@chula.ac.th |
|