dc.contributor.advisor |
สุภลัคน์ ลวดลาย |
|
dc.contributor.author |
ชลธิชา ธาดานุกูลวัฒนา |
|
dc.contributor.author |
ทอฝัน สิทธิฤกษ์ |
|
dc.contributor.author |
ธนัชชา ฉันทประทีป |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2018-03-20T08:58:55Z |
|
dc.date.available |
2018-03-20T08:58:55Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57868 |
|
dc.description |
โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเจตคติตราบาปที่มีต่อโรคซึมเศร้า และผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในการทำนายพฤติกรรมการช่วยเหลือ และระยะห่างทางสังคม ซึ่งมีการเข้าใจอย่างร่วมรู้สึกเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มผู้วิจัยได้ศึกษาในกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาสาขาจิตวิทยาที่ผ่านการเรียนวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาอปกติ และกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ไม่เคยผ่านการเรียนวิชาดังกล่าวมาก่อน จำนวนกลุ่มละ 192 คน รวมทั้งสิ้น 384 คน การวิจัยครั้งนี้ทำการเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และมาตรวัด จำนวน 5 มาตร เพื่อวัดความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เจตคติตราบาปต่อโรคซึมเศร้า การเข้าใจอย่างร่วมรู้สึก ระยะห่างทางสังคม และพฤติกรรมช่วยเหลือ ผลการศึกษาพบว่า 1) ไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและเจตคติตราบาป กล่าวคือระดับเจตคติตราบาปต่อโรคซึมเศร้าในนิสิตนักศึกษาที่ผ่านการเรียนรายวิชาที่เกี่ยวกับจิตวิทยาอปกติและนิสิตนักศึกษาที่ไม่เคยผ่านการเรียนรายวิชาที่เกี่ยวกับจิตวิทยาอปกติ มีระดับไม่ต่างกัน 2) เจตคติตราบาปมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกต่อระยะห่างทางสังคม โดยเจตคติตราบาปมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบต่อการเข้าใจอย่างร่วมรู้สึก และการเข้าใจอย่างร่วมรู้สึกมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบต่อระยะห่างทางสังคม อีกทั้งพบผลของอิทธิพลทางอ้อมของเจตคติตราบาปต่อระยะห่างทางสังคมโดยมีการเข้าใจอย่างร่วมรู้สึกเป็นตัวแปรส่งผ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) การเข้าใจอย่างร่วมรู้สึกมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกต่อพฤติกรรมช่วยเหลือ แต่ไม่พบว่าเจตคติตราบาปมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงต่อพฤติกรรมช่วยเหลือ และการเข้าใจอย่างร่วมรู้สึกไม่มีอิทธิพลส่งผ่านระหว่างเจตคติตราบาปและพฤติกรรมช่วยเหลือ และ 4) ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่มีอิทธิพลกำกับต่อความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติตราบาปต่อการเข้าใจอย่างร่วมรู้สึก และไม่มีอิทธิพลกำกับต่อความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติตราบาปต่อระยะห่างทางสังคม แต่มีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติตราบาปต่อพฤติกรรมการช่วยเหลือ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This study aims to explore an influence of public stigma attitudes toward Depression Disorder and depressed patients on prosocial behaviors and social distance by using empathy as a mediator. 384 undergraduate students living in Bangkok Metropolitan Region were divided into two groups based on their own educational experience on abnormal psychology and related subject. This study was a survey research which used 5 questionnaires that measure Depression Disorder knowledge, stigma attitudes toward Depression Disorder, empathy, prosocial behaviors and social distance. The results show that there was no significant relation between depression disorder knowledge and stigma attitudes in both groups. Stigma attitude showed positive and significant relation to social distance; while stigma attitude negatively and significantly related to empathy. Further, empathy showed negative correlation with social distance. Meanwhile, it showed positive correlation with prosocial behavior. In particular, empathy was crucial considered as a significant mediator of the relation between stigma attitude and social distance. However, empathy was not found to be the significant mediator of the relation between stigma attitude and prosocial behavior. Finally, depression disorder knowledge has neither the moderating effect on the relation between stigma attitudes and empathy nor the relation between stigma attitudes and social distance, but has the negative moderating effect on the relation between stigma attitudes and prosocial behavior. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
โรคซึมเศร้า |
en_US |
dc.subject |
โรคซึมเศร้า -- แง่สังคม |
en_US |
dc.subject |
ความรู้สึกเป็นตราบาป |
en_US |
dc.subject |
Depression, Mental |
en_US |
dc.subject |
Depression, Mental -- Social aspects |
en_US |
dc.subject |
Stigma (Social psychology) |
en_US |
dc.title |
เจตคติตราบาปต่อโรคซึมเศร้า : ระยะห่างทางสังคมและพฤติกรรมการช่วยเหลือ |
en_US |
dc.title.alternative |
Stigma attitudes toward depression : social distance and prosocial behaviors |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Supalak.l@chula.ac.th |
|