Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินแอพพลิเคชันเกมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการ แก้ไขปัญหาในเด็กวัยประถมศึกษา (7-11 ปี) การพัฒนาแบบประเมินประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการ สร้างแบบประเมินเพื่อใช้ประเมินแอพพลิเคชันเกม โดยผู้วิจัยพัฒนาข้อคำถามจากการค้นคว้างานวิจัย การ สัมภาษณ์นักพัฒนาเกม 3 คน ผู้ปกครอง 5 คน และเด็กวัยประถมศึกษา 5 คน รวมถึงตรวจสอบแบบประเมินโดย ผู้เชี่ยวชาญและนิสิตปริญญาโทด้านจิตวิทยาพัฒนาการ 5 คน และขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติของแบบ ประเมิน โดยนักจิตวิทยา นิสิตปริญญาโทด้านจิตวิทยาพัฒนาการ นิสิตปริญญาตรีที่เรียนและมีความสนใจทาง ด้านเด็ก และนักพัฒนาเกม รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน เป็นผู้ทดลองใช้แบบประเมินในการประเมินเกมสองกลุ่ม ได้แก่ แอพพลิเคชันเกมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา 2 เกม และแอพพลิเคชันเกมเพื่อความสนุกสนานที่ได้ รับความนิยม 3 เกม วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater Reliability) โดยการวิเคราะห์ค่า P ของสัมประสิทธิ์แคปปา (a pure coefficient of Kappa) เพื่อแสดงค่าความสอดคล้องที่แท้จริงเป็นรายข้อ ผล การวิเคราะห์พบว่าข้อกระทงทุกข้อมีค่าความสอดคล้องในระดับดี (P > 0.4) โดยส่วนใหญ่มีค่าความสอดคล้องใน ระดับดีมาก (P > 0.75) แสดงให้เห็นว่าผู้ประเมินเข้าใจข้อกระทงส่วนใหญ่ในแบบประเมินไปในทิศทางเดียวกัน แต่ก็มีข้อกระทงบางข้อที่ยังมีค่าความสอดคล้องไม่สูงและควรต้องมีการปรับแก้เพื่อให้เป็นแบบประเมินที่มี คุณภาพต่อไป ในการวิเคราะห์คุณภาพของแอพพลิเคชันเกม 5 เกม พบว่า แอพพลิเคชันเกมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ไข ปัญหาทั้ง 2 เกม และแอพพลิเคชันเกมเพื่อความสนุกสนานที่ได้รับความนิยม 2 เกมมีคะแนนผ่านเกณฑ์การ ประเมินด้านการแก้ไขปัญหา (คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป) แต่ทุกเกมมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินด้าน ลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับเด็กประถมศึกษา โดยเฉพาะประเด็นของการขาดการควบคุมเวลาในการ เล่นเกม
Description:
โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016