DSpace Repository

การพัฒนาแบบประเมินแอพพลิเคชันเกมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการแก้ปัญหาสำหรับเด็กประถมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณระพี สุทธิวรรณ
dc.contributor.advisor สักกพัฒน์ งามเอก
dc.contributor.author กมลวรรณ ถังทอง
dc.contributor.author ตรีประดับ อุทัยเศรษฐวัฒน์
dc.contributor.author สรวงชนก โพธิ์สินสมวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2018-03-21T03:17:37Z
dc.date.available 2018-03-21T03:17:37Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57878
dc.description โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016 en_US
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินแอพพลิเคชันเกมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการ แก้ไขปัญหาในเด็กวัยประถมศึกษา (7-11 ปี) การพัฒนาแบบประเมินประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการ สร้างแบบประเมินเพื่อใช้ประเมินแอพพลิเคชันเกม โดยผู้วิจัยพัฒนาข้อคำถามจากการค้นคว้างานวิจัย การ สัมภาษณ์นักพัฒนาเกม 3 คน ผู้ปกครอง 5 คน และเด็กวัยประถมศึกษา 5 คน รวมถึงตรวจสอบแบบประเมินโดย ผู้เชี่ยวชาญและนิสิตปริญญาโทด้านจิตวิทยาพัฒนาการ 5 คน และขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติของแบบ ประเมิน โดยนักจิตวิทยา นิสิตปริญญาโทด้านจิตวิทยาพัฒนาการ นิสิตปริญญาตรีที่เรียนและมีความสนใจทาง ด้านเด็ก และนักพัฒนาเกม รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน เป็นผู้ทดลองใช้แบบประเมินในการประเมินเกมสองกลุ่ม ได้แก่ แอพพลิเคชันเกมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา 2 เกม และแอพพลิเคชันเกมเพื่อความสนุกสนานที่ได้ รับความนิยม 3 เกม วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater Reliability) โดยการวิเคราะห์ค่า P ของสัมประสิทธิ์แคปปา (a pure coefficient of Kappa) เพื่อแสดงค่าความสอดคล้องที่แท้จริงเป็นรายข้อ ผล การวิเคราะห์พบว่าข้อกระทงทุกข้อมีค่าความสอดคล้องในระดับดี (P > 0.4) โดยส่วนใหญ่มีค่าความสอดคล้องใน ระดับดีมาก (P > 0.75) แสดงให้เห็นว่าผู้ประเมินเข้าใจข้อกระทงส่วนใหญ่ในแบบประเมินไปในทิศทางเดียวกัน แต่ก็มีข้อกระทงบางข้อที่ยังมีค่าความสอดคล้องไม่สูงและควรต้องมีการปรับแก้เพื่อให้เป็นแบบประเมินที่มี คุณภาพต่อไป ในการวิเคราะห์คุณภาพของแอพพลิเคชันเกม 5 เกม พบว่า แอพพลิเคชันเกมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ไข ปัญหาทั้ง 2 เกม และแอพพลิเคชันเกมเพื่อความสนุกสนานที่ได้รับความนิยม 2 เกมมีคะแนนผ่านเกณฑ์การ ประเมินด้านการแก้ไขปัญหา (คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป) แต่ทุกเกมมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินด้าน ลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับเด็กประถมศึกษา โดยเฉพาะประเด็นของการขาดการควบคุมเวลาในการ เล่นเกม en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to develop a measurement of game applications which endorsed problem solving skill in middle childhood (7-11 years). There were two stages in developing the measurement. The first stage was creating the measurement to assess the game applications, which was developed from literature reviews and interviews with 3 game developers, 5 parents, and 5 primary school children. Moreover, the assessment was validated by the experts and 5 graduate students in a filed of developmental psychology. The second stage was validating the measurement by 15 experts in the field of childhood developmental psychology. In validating, the researchers chose 5 games which players could download from App Store, including 3 games that supported children’s problem-solving skill and 2 games which were fun to play with and popular in App Store. After the validating process, data analysis to find for an Inter-rater Reliability was conducted by using a pure coefficient of Cohen’s kappa statistic to study the consistency of data. According to the analysis, all data had a pure coefficient more than 0.4 and most data had a pure coefficient more than 0.75, which showed that the experts understood the questionnaires unidirectionally. However, there were only some questions which had only good pure coefficient that should be improved in the later stage. Moreover, the result of the validity of the applications through the measurement showed that 2 games that supported children’s problem-solving skill and 2 games that were popular in App Store passed the evaluation criteria for the field of developing children’s problem-solving skill (above 80 percent). On the other hand, there were not any games passing the evaluation criteria for the suitability of the physical content to be suitable for children, particularly in the area of time control in playing games en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การแก้ปัญหาในเด็ก en_US
dc.subject โปรแกรมประยุกต์ -- การประเมิน en_US
dc.subject Problem solving in children en_US
dc.subject Application software -- Evaluation en_US
dc.title การพัฒนาแบบประเมินแอพพลิเคชันเกมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการแก้ปัญหาสำหรับเด็กประถมศึกษา en_US
dc.title.alternative Evaluation criteria for applications aimed at developing problem solving skills in middle childhood en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Panrapee.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record