DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรัญญู กองชัยมงคล
dc.contributor.advisor ณัฐสุดา เต้พันธ์
dc.contributor.author ภัสธารีย์ พลไพโรจน์
dc.contributor.author กันตวรรณ คงแป้น
dc.contributor.author สิริมนัส พะชะนะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2018-03-21T06:51:37Z
dc.date.available 2018-03-21T06:51:37Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57884
dc.description โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกชั้นปี ทั้ง 18 คณะ และ 1 สำนักวิชา จำนวน 128 คน ใช้เครื่องมือวัดในการวิจัย 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบวัดความวิตกกังวลที่เป็นลักษณะประจำตัว แบบวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง แบบวัดการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่าความเมตตากรุณาต่อตนเองและการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวล และ ความเมตตากรุณาต่อตนเองและการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนร่วมกันทำนายความวิตกกังวลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ 1. ความเมตตากรุณาต่อตนเองมีความสัมพันธ์ความวิตกกังวลในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 [r = -.818, p < .01] 2. การริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตนมีความสัมพันธ์ความวิตกกังวลในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 [r = -.538, p < .01] 3. ความเมตตากรุณาต่อตนเองและการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน ร่วมกันทำนายความวิตกกังวลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 68.6 [R2 = .686, p < .001] en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research study was to examine the relations among anxiety, self-compassion, and personal growth initiative. Participants were 128 undergraduates from Chulalongkorn University, 18 faculties and 1 school. The participants responded to a set of questionnaires measuring demographic data, personal growth initiative, self-compassion, and anxiety. Pearson’s product moment correlation coefficient and Multiple Regression Analysis were used to analyses the data. Findings were as follows: 1)Self-compassion was significantly and negatively correlated with anxiety [r = -.818, p < .01] 2)Personal growth initiative was significantly and negatively correlated with anxiety [r = -.538, p < .01] 3) When examined together, self-compassion, and personal growth initiative significantly predicted anxiety and accounted for 68.6% of its variance [R2 = .686, p < .001] en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความวิตกกังวล en_US
dc.subject ความสงสาร -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject ความตระหนักในศักยภาพตน en_US
dc.subject Anxiety en_US
dc.subject Compassion -- Psychological aspects en_US
dc.subject Self-actualization (Psychology) en_US
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล ความเมตตากรุณาต่อตนเอง และการริเริ่มพัฒนาความงอกงามแห่งตน en_US
dc.title.alternative Relations among anxiety, self-compassion, and personal growth initiative Senior project advisor en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor tnattasuda@gmail.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record