DSpace Repository

ความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคม และเครือข่ายสังคมออนไลน์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรส และความพึงพอใจในการเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีบุตรคนแรกอายุ 0 - 2 ปี

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิปัทม์ พิชญโยธิน
dc.contributor.author ฐิตาพร อติวรมันต์
dc.contributor.author ปวรา โชคธนานุกูล
dc.contributor.author พรวรินทร์ สิมะรังสฤษฎิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2018-03-26T02:16:03Z
dc.date.available 2018-03-26T02:16:03Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57925
dc.description โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคม และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรส และความพึงพอใจในการเป็นผู้เลี้ยงดู ในกลุ่มตัวอย่างเป็นพ่อแม่มือใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 47 ปี จำนวน 1,815 คน ที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการติดตามเพจที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหรือเป็นสมาชิกของกลุ่มบนเฟซบุ๊กที่พูดคุยกันเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการได้รับการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการใช้อินเทอร์เน็ตในการเลี้ยงดูบุตร แบบสอบถามความพึงพอใจในชีวิตสมรส และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเป็นผู้เลี้ยงดู โดยเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย คือ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation) และการถดถอยเชิงพหุคูณ (multiple regression) ผลงานวิจัยพบว่า การได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ (β = 0.424, p < .05) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของพ่อแม่มือใหม่ ส่วนการได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ (β = .265, p < .05) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมิน (β = 0.136, p < .05) รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในการเลี้ยงดูบุตรด้านอารมณ์ (β = 0.112, p < .05) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการเป็นผู้เลี้ยงดู นอกจากนี้การได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร (β = -0.074, p < .05) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการเป็นผู้เลี้ยงดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to examine the relations among social support, social media use, parents’ marital and parental satisfaction. Participants were 1,815 first-time parents (18 – 47 years of age), who have been following Facebook pages about parenting or been the members of Facebook parental groups. Participants completed a set of online questionnaires, consisted of personal data, social support scale, internet use scale, marital satisfaction scale and parental satisfaction scale. The results indicated that receiving emotional support (β = .424, p < .05) was positively and significantly correlated with marital satisfaction. Besides receiving emotional support (β = .265, p < .05), appraisal support (β = .136, p < .05), and parenting-related internet emotional support (β = .112, p < .05) was positively and significantly correlated with parental satisfaction. In addition, receiving informational support was negatively and significantly correlated with parental satisfaction. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การสมรส -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject เครือข่ายสังคมออนไลน์ -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject สถานภาพทางการสมรส -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject เครือข่ายสังคม -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject Marriage -- Psychological aspects en_US
dc.subject Online social networks -- Psychological aspects en_US
dc.subject Marital status -- Psychological aspects en_US
dc.subject Social networks -- Psychological aspects en_US
dc.title ความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคม และเครือข่ายสังคมออนไลน์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรส และความพึงพอใจในการเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีบุตรคนแรกอายุ 0 - 2 ปี en_US
dc.title.alternative A study of social support and social networking on marital and parental satisfaction of first time parents with 0 - 2 year-old children en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Npichaya.bock@gmail.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record