DSpace Repository

กรอบแนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
dc.contributor.author สุนิสา เซ่งตระกูล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2018-04-10T06:42:08Z
dc.date.available 2018-04-10T06:42:08Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58049
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประเด็นและรายละเอียดจรรยาบรรณ วิชาชีพการ ประชาสัมพันธ์ในสังคมไทย การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษา วิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก มีกลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการด้านการประชาสัมพันธ์ กลุ่มนักวิชาชีพ ประชาสัมพันธ์ และกลุ่มสื่อมวลชน จำนวน 8 ท่าน โดยนำข้อมูลที่ได้มาสรุปเป็นประเด็นเพื่อใช้ในการสร้าง เครื่องมือวิจัยสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนที่สอง คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักวิชาการและนักวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์ที่อยู่ในองค์การภาครัฐ องค์การไม่แสวงผลกำไร องค์การ ภาคเอกชนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที*ปรึกษาประชาสัมพันธ์ จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพการประชาสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การ วิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้นและการวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis) ด้วยโปรแกรม SPSS for Window ผลการวิจัยเชิงคุณภาพสรุปได้ดังนี้ ลักษณะวิธีการเขียนจรรยาบรรณวิชาชีพ คือ ต้องเขียนให้ชัดเจน ตรงประเด็น และในแต่ละข้อจรรยาบรรณควรมีแนวคิดเพียงแนวคิดเดียว เรียงลำดับความสำคัญของประเด็น ต่าง ๆ จากมากไปน้อย ซึ่งประเด็นที่ควรมุ่งเน้นนำมากำหนดจรรยาบรรณ คือ การนำเสนอข้อมูลที่เป็น ข้อเท็จจริง การรักษาความลับขององค์การและลูกค้า การไม่รับและไม่ให้อามิสสินจ้าง การมีความรับผิดชอบต่อ สังคม การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นธรรม การไม่รับงานที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน การเคารพสิทธิผู้อื่น การมีทัศนคติ ที่ดีต่อวิชาชีพและองค์การ และการธำรงรักษาวัฒนธรรมของไทย ผลการวิจัยเชิงปริมาณสรุปได้ดังนี้ กรอบแนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพประชาสัมพันธ์ เมื่อวิเคราะห์ ด้วยสถิติวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis) พบว่า มีกรอบแนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพมี 5 องค์ประกอบ 19 ตัวแปร โดยองค์ประกอบที่ 1 คือ ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ มีจำนวน 7 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 คือ การ ปฏิบัติงานภายใต้กรอบกฎหมายและระเบียบของสังคมเพื่อพัฒนาวิชาชีพ มีจำนวน 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 คือ ด้านการปฏิบัติงานต่อบุคคลอื่นอย่างเท่าเทียมและโปร่งใส มีจำนวน 3 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 คือ ด้าน การนำเสนอความจริงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมีจำนวน 3 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 5 คือ ด้านความซื่อสัตย์ต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 2 ตัวแปร en_US
dc.description.abstractalternative This research has been done with the objective to study the issue and detail about public relations code of ethics in Thailand. The research can be divided into 2 parts as follow: 1. Qualitative research-This part based on content analysis and in-dept interview. The sample consists of 8 people from public relations academic, public relations professional, and media personnel groups. The result of this conduct has been summarized for making research implement of the next part. 2. Quantitative research- it based on questionnaire surveying from158 PR people in nonprofit organization, profit organization, PR agency and university in Bangkok. The result has been analyzed by SPSS for window program using descriptive and factor analysis statistics which was shown as follow: Qualitative research – PR code of ethics in Thailand should be written relevantly to the clear issue which each of the issue should have only one concept and be arranged in order from the most important issue into the least. The issues that should be defined in PR code of ethics are about truth offering and working impartiality, secret keeping, not fraudulency for working, social responsibility, not associating in public interest, respecting people right, good attitudinal thinking for organization, and Thai cultural conservation. Quantitative research – There are 5 issues 19 factors that can define into public relations code of ethics in Thailand. The first issue is about honesty for profession which (7 factors). The second issue is about working under raw and Thai social rule for developing PR profession (4 factors). The third is about fair and transparency working (3 factors). The fourth is truth offering and public’s benefit consideration (3 factors). The last is about honesty for organization and stakeholders (2 factors) en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.28
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การประชาสัมพันธ์ en_US
dc.subject การประชาสัมพันธ์ -- จรรยาบรรณ en_US
dc.subject การประชาสัมพันธ์ -- จรรยาบรรณ -- ไทย en_US
dc.subject Public relations en_US
dc.subject Public relations -- Professional ethics en_US
dc.subject Public relations -- Professional ethics -- Thailand en_US
dc.title กรอบแนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Conceptual framework of public relations code of ethics in Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การประชาสัมพันธ์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Ubolwan.P@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.28


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record