Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงและปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งทัศนคติของกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะ 2) เพื่อศึกษาความเป็นอยู่โดยทั่วไปในภาพรวมของชาวบางกระจะ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ต่อความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ในหมู่บ้านของตนเอง และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรคัดสรร (Selected Variables) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้รับมาจาการสอบถามกึ่งสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นชาวบางกระจะ 274 ครัวเรือนจากการสุ่มทั้งหมด 294 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 93.20 ของการสุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ จำนวน (frequency) ร้อยละ (Percentage) มัธยฐาน (Median) สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Correlation) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประชาชนภายในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะ ในฤดูแล้งประมาณร้อยละ 40 ขาดแคลนน้ำ น้ำกินน้ำใช้ และชาวบางกระจะประมาณร้อยละ 90 เห็นว่าที่อยู่อาศัยของเขาอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในทำนองเดียวกันประมาณร้อยละ 60 มีความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2. อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรในรอบปีที่ผ่านมาในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะมีอัตราการเกิดร้อยละ 1.39 และ อัตราการตายร้อยละ 0.31 ของประชากรทั้งหมด อัตราการย้ายถิ่นฐานเข้ามากอยู่ใหม่ (9.62%) สูงกว่า อัตราการย้ายออก (5.26%) คิดเป็นร้อยละ 4.36 สำหรับความหนาแน่นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 264 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร 3. ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะ มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงาน (15-64 ปี) ร้อยละ 73 และชาวบางกระจะให้ความเห็นว่า พ่อแม่ที่ดีควรมีลักษณะคือ เป็นผู้นำคราอบครัวที่ดี มีความรับผิดชอบ รับฟังปัญหาของลูกเป็นเพื่อนคุยได้ทุกเรื่อง อารมณ์ดี ไม่ใช้อารมณ์และกำลังตัดสินปัญหา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ไม่เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น รักลูกเท่า ๆ กัน และให้อิสระแก่ลูกในการตัดสินใจ 4. ปัญหาของครอบครัว ได้แก่ ขาดแคลนในเรื่องการเงิน ไม่มีเวลาพักผ่อน ความไม่เข้าใจกันระหว่างญาติพี่น้อง สิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ลูกถูกทอดทิ้ง (พ่อแม่มีครอบครัวใหม่) 5. ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักที่ตั้งของหน่วยราชการหรือที่ทำการต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะ และเข้าใจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานนั้นได้เป็นอย่างดี 6. ชาวบางกระจะออกไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกทางกรเมือง ครั้งสุดท้ายที่ผ่านมา ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุดประมาณร้อยละ 47 คือ เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รองลงมาเป็นการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามลำดับ 7. ชาวบางกระจะร้อยละ 95 ขึ้นไปอ่านออกเขียนได้ หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วชาวบางกระจะศึกษาความรู้เพิ่มเติมจาก การอ่านหนังสือด้วยตนเอง เข้ารับการอบรมเฉพาะเรื่อง และสมัครเรียนอาชีพระยะสั้น ชาวบางกระจะส่วนใหญ่เห็นว่าการเรียนมีประโยชน์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และคิดว่าจะส่งบุตรให้ศึกษาต่อจนถึงระดับอุดมศึกษา สำหรับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพคือ วิชาเกษตรกรรม และวิชาคณิตศาสตร์ 8. อาชีพส่วนใหญ่ของชาวบางกระจากคือ ทำสวน/ทำไร่ รับจ้าง ข้าราชการ และธุรกิจ/ค้าขา ตามลำดับ แต่ละครอบครัวมีรายได้รวมเฉลี่ยต่อปี 123,462 บาท ที่มาของรายได้ส่วนใหญ่มากจาการขายผลผลิตทางการเกษตร ส่วนรายจ่ายรวมเฉลี่ยต่อปี 112,292 บาท โดยจ่ายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารักษาพยาบาล และเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ สำหรับปัญหาหรืออุปสรรคสำคัญในการทำสวนหรือทำไร่ได้แก่ ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ส่วนปัญหาในการขายผลผลิตคือ ถูกกดราคาขายผลผลิต 9. ชาวบางกระจะส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และให้ความเห็นว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ในทำนองเดียวกันชาวบางกระจะส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าคนตายไปแล้วจะมีโอกาสเกิดใหม่และไม่เชื่อเรื่องการทรงเจ้าเข้าผี 10. เวลาเจ็บป่วย ส่วนมากชาวบางกระจะ ร้อยละ 68 จะไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด รองลงมา ประมาณร้อยละ 30 จะไปซื่อยามารับประทานเอง โดยยาที่ซื้อมารับประทานเองนั้นร้อยละ 46 ของผู้ที่ซื้อยามารับประทานเองจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และร้อยละ 33 ได้รับคำแนะนำจากคนขายที่ร้านขายยา 11. ชาวบางกระจะเกือบทุกครัวเรือน (ร้อยละ 70) มีสิ่งอำนวยความสะอวดต่อไปนี้ คือ วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม ฯลฯ อย่างน้อย 1 เครื่อง สำหรับรายการวิทยุที่ฟังกันเป็นประจำได้แก่ ข่าว ละคร และเพลง ส่วนรายการโทรทัศน์ที่นิยมดูกันเป็นประจำได้แก่ ข่าว บันเทิง และสารคดี ตามลำดับ 12. ชาวบางกระจะประมาณร้อยละ 13 มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาเป็นเรื่องการใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ ใช้ราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง และมีการใช้คำฟุ่มเฟือย เป็นต้น 13. ความเป็นอยู่ในภาพร่วมโดยทั่วไป พบว่า ด้านทำเลที่ตั้ง เศรษฐกิจของครอบครัว พื้นฐานของครอบครัว และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของชาวบางกระจะอยู่ในระดับ ดี ถึง ดีมาก ยกเว้นเพียงด้านเดียว คือ ด้านความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ในหมู่บ้านของตนเอง อยู่ในระดับต่ำหรือควรปรับปรุง 14. กลุ่มอาชีพเกือบทุกอาชีพมีความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกล่าอาชีพเกษตรกร (ทำสวนหรือทำไร่) ที่มีความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่สูงกว่ากลุ่มอาชีพรับจ้างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 15. การศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรคัดสรร พบว่า ทำเลที่ตั้งหรืออที่อาศัยอยู่ มีอิทธิพลทางตรงต่อเศรษฐกิจของครอบครัว [โดยที่ทั้งสองตัวแปรนี้ไม่มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ การมีส่วนร่วมทงการเมือง และความพึงพอใจในภาพความเป็นอยู่ของชาวบางกระจะ] ในทำนองเดียวกันพบว่า ความพึงพอใจในภาพความเป็นอยู่ของชาวบางกระจะ ได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้าอมจาก พื้นฐานของครอบครัว (โดยทางอ้อมผ่านทางการมีส่วนร่วมทางการเมือง) และได้รับอิทธิพลทางตรงจาก การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นสำคัญ