DSpace Repository

การศึกษาสภาพสังคมในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author สุทธนู ศรีไสย์
dc.contributor.author สุพจน์ บุญวิเศษ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคตะวันออก)
dc.coverage.spatial จันทบุรี
dc.date.accessioned 2008-02-11T11:36:51Z
dc.date.available 2008-02-11T11:36:51Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9743840281
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5842
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงและปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งทัศนคติของกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะ 2) เพื่อศึกษาความเป็นอยู่โดยทั่วไปในภาพรวมของชาวบางกระจะ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ต่อความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ในหมู่บ้านของตนเอง และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรคัดสรร (Selected Variables) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้รับมาจาการสอบถามกึ่งสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นชาวบางกระจะ 274 ครัวเรือนจากการสุ่มทั้งหมด 294 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 93.20 ของการสุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ จำนวน (frequency) ร้อยละ (Percentage) มัธยฐาน (Median) สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Correlation) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประชาชนภายในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะ ในฤดูแล้งประมาณร้อยละ 40 ขาดแคลนน้ำ น้ำกินน้ำใช้ และชาวบางกระจะประมาณร้อยละ 90 เห็นว่าที่อยู่อาศัยของเขาอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในทำนองเดียวกันประมาณร้อยละ 60 มีความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2. อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรในรอบปีที่ผ่านมาในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะมีอัตราการเกิดร้อยละ 1.39 และ อัตราการตายร้อยละ 0.31 ของประชากรทั้งหมด อัตราการย้ายถิ่นฐานเข้ามากอยู่ใหม่ (9.62%) สูงกว่า อัตราการย้ายออก (5.26%) คิดเป็นร้อยละ 4.36 สำหรับความหนาแน่นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 264 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร 3. ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะ มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงาน (15-64 ปี) ร้อยละ 73 และชาวบางกระจะให้ความเห็นว่า พ่อแม่ที่ดีควรมีลักษณะคือ เป็นผู้นำคราอบครัวที่ดี มีความรับผิดชอบ รับฟังปัญหาของลูกเป็นเพื่อนคุยได้ทุกเรื่อง อารมณ์ดี ไม่ใช้อารมณ์และกำลังตัดสินปัญหา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ไม่เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น รักลูกเท่า ๆ กัน และให้อิสระแก่ลูกในการตัดสินใจ 4. ปัญหาของครอบครัว ได้แก่ ขาดแคลนในเรื่องการเงิน ไม่มีเวลาพักผ่อน ความไม่เข้าใจกันระหว่างญาติพี่น้อง สิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ลูกถูกทอดทิ้ง (พ่อแม่มีครอบครัวใหม่) 5. ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักที่ตั้งของหน่วยราชการหรือที่ทำการต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระจะ และเข้าใจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานนั้นได้เป็นอย่างดี 6. ชาวบางกระจะออกไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกทางกรเมือง ครั้งสุดท้ายที่ผ่านมา ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุดประมาณร้อยละ 47 คือ เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รองลงมาเป็นการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามลำดับ 7. ชาวบางกระจะร้อยละ 95 ขึ้นไปอ่านออกเขียนได้ หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วชาวบางกระจะศึกษาความรู้เพิ่มเติมจาก การอ่านหนังสือด้วยตนเอง เข้ารับการอบรมเฉพาะเรื่อง และสมัครเรียนอาชีพระยะสั้น ชาวบางกระจะส่วนใหญ่เห็นว่าการเรียนมีประโยชน์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และคิดว่าจะส่งบุตรให้ศึกษาต่อจนถึงระดับอุดมศึกษา สำหรับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพคือ วิชาเกษตรกรรม และวิชาคณิตศาสตร์ 8. อาชีพส่วนใหญ่ของชาวบางกระจากคือ ทำสวน/ทำไร่ รับจ้าง ข้าราชการ และธุรกิจ/ค้าขา ตามลำดับ แต่ละครอบครัวมีรายได้รวมเฉลี่ยต่อปี 123,462 บาท ที่มาของรายได้ส่วนใหญ่มากจาการขายผลผลิตทางการเกษตร ส่วนรายจ่ายรวมเฉลี่ยต่อปี 112,292 บาท โดยจ่ายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารักษาพยาบาล และเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ สำหรับปัญหาหรืออุปสรรคสำคัญในการทำสวนหรือทำไร่ได้แก่ ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ส่วนปัญหาในการขายผลผลิตคือ ถูกกดราคาขายผลผลิต 9. ชาวบางกระจะส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และให้ความเห็นว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ในทำนองเดียวกันชาวบางกระจะส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าคนตายไปแล้วจะมีโอกาสเกิดใหม่และไม่เชื่อเรื่องการทรงเจ้าเข้าผี 10. เวลาเจ็บป่วย ส่วนมากชาวบางกระจะ ร้อยละ 68 จะไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด รองลงมา ประมาณร้อยละ 30 จะไปซื่อยามารับประทานเอง โดยยาที่ซื้อมารับประทานเองนั้นร้อยละ 46 ของผู้ที่ซื้อยามารับประทานเองจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และร้อยละ 33 ได้รับคำแนะนำจากคนขายที่ร้านขายยา 11. ชาวบางกระจะเกือบทุกครัวเรือน (ร้อยละ 70) มีสิ่งอำนวยความสะอวดต่อไปนี้ คือ วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม ฯลฯ อย่างน้อย 1 เครื่อง สำหรับรายการวิทยุที่ฟังกันเป็นประจำได้แก่ ข่าว ละคร และเพลง ส่วนรายการโทรทัศน์ที่นิยมดูกันเป็นประจำได้แก่ ข่าว บันเทิง และสารคดี ตามลำดับ 12. ชาวบางกระจะประมาณร้อยละ 13 มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาเป็นเรื่องการใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ ใช้ราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง และมีการใช้คำฟุ่มเฟือย เป็นต้น 13. ความเป็นอยู่ในภาพร่วมโดยทั่วไป พบว่า ด้านทำเลที่ตั้ง เศรษฐกิจของครอบครัว พื้นฐานของครอบครัว และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของชาวบางกระจะอยู่ในระดับ ดี ถึง ดีมาก ยกเว้นเพียงด้านเดียว คือ ด้านความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ในหมู่บ้านของตนเอง อยู่ในระดับต่ำหรือควรปรับปรุง 14. กลุ่มอาชีพเกือบทุกอาชีพมีความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกล่าอาชีพเกษตรกร (ทำสวนหรือทำไร่) ที่มีความพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่สูงกว่ากลุ่มอาชีพรับจ้างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 15. การศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรคัดสรร พบว่า ทำเลที่ตั้งหรืออที่อาศัยอยู่ มีอิทธิพลทางตรงต่อเศรษฐกิจของครอบครัว [โดยที่ทั้งสองตัวแปรนี้ไม่มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ การมีส่วนร่วมทงการเมือง และความพึงพอใจในภาพความเป็นอยู่ของชาวบางกระจะ] ในทำนองเดียวกันพบว่า ความพึงพอใจในภาพความเป็นอยู่ของชาวบางกระจะ ได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้าอมจาก พื้นฐานของครอบครัว (โดยทางอ้อมผ่านทางการมีส่วนร่วมทางการเมือง) และได้รับอิทธิพลทางตรงจาก การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นสำคัญ en
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was fourfold: first, to study the facts, problems, and attitudes of civilian in the area of Tambon Bangaja Administrative Organization (BAO); second, to study a whole general way of life of civilian (GWL) in Bangaja society; third, to compare the satisfaction between occupational groups toward the GWL of civilian in Bangaja society; and fourth, to study the causal correlation among selected factors. All completed 274 family members (from 294 random members or 93.20 percent) with multi-stage sampling were participated in this study. Data were analyzed by computing frequency, percentage, median, stepwise-multi regression correlation, and path analysis. Research results were as follows: 1. Civilian in the area of BAO, in dry season 40% of civilian had a serious problem in water consumption and agriculture. Most of them solved this problem by helping them-self, and requesting government officers for helping, respectively. In addition, 90% of civilian indicated that their area and homelocation were located in the appropriate area. It was also found that 60% of civilian were satisfaction on a whole general way of life from high to very high levels. 2. Population change rates in the past 1 year were as follows: birth rate as 1.39%, dead rate as 0.31%, in-migration rate (9.62%) greater than out-migration rate (5.26%) as 4.36 percent. It also revealed that the average of civilian density was 264 persons per a square kilometer. 3. Seventy-three percent of BAO civilian was in labor age (15-64 years). Most of BAO civilian revealed that the best parents were as follows: a good family leader, responsibility person, listening problems from son/daughter like a good friend, good emotion, no making decision problems with bad emotion, no concerning with all bad things, no comparing son/daughter with other's son/daughter, giving loveliness sons or daughters equality, and giving freedom to son or daughter for making decision. 4. The crucial family problems of the BAO civilian were as follows; lacking money, no resting time, conflicting between relatives, no appropriate environment for home location, abandoning elders, abandoning child )parent have a new family), etc. 5. Most of the BAO civilian knew the location of all official governmental units and clearly understood the function of those official units. 6. As a result of past elections, the BAO civilian (47%) went to vote Puyaiban and senate representatives selections more than Tambon Adminstration Organization, and Provinicial Administrative organization, respectively. 7. Ninety-five percent of BAO civilian was able to read or write books. After schooling, most of BOA civilian (95%) study increasingly from reading books by themselves, training some interesting program, and study occupational short-courses. Most of BAO civilian indicated that learning gave the highest advantage for all in high to very levels. They would give a chance to sons/daughters continuing study in higher education level. They also revealed that two subjects gave them an advantageto their occupation as agriculture, and mathematics. 8. Most of the BAO civilian's occupations were agriculture, employees, government officers, and traders, respectively. Income average of each family was 123,562 baht a year, came from selling agricultural products. On the contary, expenditure average was 112,292 baht a year, paid for running water, electric, educational fee, health care, and other miscellanies. The crucial problems or obstacles concerning agriculture of the BAO civilian were as no usual rain in rainy season. In addition, problems or obstacles of selling agricultural products were as decreasing price for selling. 9. Most of the BAO civilian believed in Buddhism. They agreed that all religions taught everybody as a good person. Moreover, the civilian had no faith in reincamation and spiritual bodies. 10. When getting sick, majority of the BAO civilian (68%) went to see doctors at provincial hospitals, 30% bought their medicine from drug store (by suggestion from a doctor, and drug seller).11. Seventy percent of family in the BAO owned at least one set of following facilitators: radios, television, refrigerator, fan, etc. The popular radio programs were news, dramas, and songs. In same as popular television programs were news, entertainment, and features, respectively. 12. Thirteen percent of the BAO civilian had some problems on using Thai language in terms of using inappropriate words with timing and places, using the king word, and using prodigal words, etc. 13. As a whole general way of life of the BAO civilian, it was found that all 4 categories (area and home locations, family economic, family background, and political participation) were at good to very good levels. Only one category (satisfaction toward a whole general way of life-GWL) was at low level. 14 Almost all of occupational groups in the BAO area were not significantly difference toward the satisfaction on the GWL at the .05 level. Exception, agricultural group had the satisfaction on the GWL more than the employee group. 15.As a result of studying the causal relationships among selected factors, it was found that the area and home location had direct effect on the family economics (these two factors had no direct or indirect effect toward the political participation, and the satisfaction on the GWL). Moreover, it was also found that the satisfaction on the GWL received direct or indirect effect from the family background (indirect effect pass through the political participation factor), and received direct effect from the political participation factor. en
dc.description.sponsorship ทุนสนับสนุนการวิจัยจาก วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.format.extent 19637612 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject บางกระจะ (จันทบุรี) -- ภาวะสังคม en
dc.subject บางกระจะ (จันทบุรี) -- ภาวะเศรษฐกิจ en
dc.subject บางกระจะ (จันทบุรี) -- ความเป็นอยู่และประเพณี en
dc.title การศึกษาสภาพสังคมในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี : รายงานวิจัย en
dc.title.alternative Study of Bangaja society in the area of Tambon Bangaja Administration Organization Amphoe Muang, Chanthaburi Province en
dc.type Technical Report es
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record