DSpace Repository

การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัมพร ม้าคนอง
dc.contributor.author สกล ตั้งเก้าสกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-04-11T01:42:38Z
dc.date.available 2018-04-11T01:42:38Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58437
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และ (2) ศึกษาคุณภาพของชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดย (2.1.) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง (2.2.) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการทดลองกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม (2.3.) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ (2.4.) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ ฉบับก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง (2) แบบสัมภาษณ์การเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ (3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ และ (4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น เน้นการนำสถานการณ์หรือประเด็นปัญหาในชีวิตจริงมาเป็นสถานการณ์ปัญหาให้นักเรียนได้คิดและสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาและนำไปสู่การแก้ปัญหา 2) ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกัน โดยที่ระหว่างการทดลองและหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสูงกว่าระหว่างการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) พัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were (1) to develop the mathematical activity package by using context based approach and mathematical modelling and (2) to study the quality of the mathematical activity package by (2.1.) comparing the mathematical connection abilities of students between before, during and after learning., (2.2.) comparing mathematical connection abilities of students after learning with the criteria of 70%., (2.3.) comparing the attitudes towards mathematics of students before and after learning., (2.4.) studying development of the mathematical connection abilities of students learning from the activity package. The subjects were ninth grade students in Chiang mai, Thailand. In first semester of the academic year 2017. There were 30 students. The instruments used in the experiment were mathematical activity package by using context based approach and mathematical modelling. The data collection instruments include mathematical connection abilities Pre-Mid and Post-tests, mathematical connection interview and observation form and attitude towards mathematics inventory. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, t-test, one – way ANOVA and content analysis. The results of the study revealed that: 1) The mathematical activity package emphasizes on situations or real problems in real life for students think and create mathematical models to solve the problems. 2) The mathematical connection abilities of students were different between before, during and after learning being taught at .05 level of significance. During and after learning were higher than before learning, after learning were higher than during learning. 3) The mathematical connection abilities of students after learning were higher than the 70% criteria being taught at .05 level of significance. at 4) The attitudes towards mathematics of students after learning were higher than those before learning being taught at .05 level of significance. 5) The mathematical connection abilities of students were developed in positive direction.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.768
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
dc.title.alternative DEVELOPMENT OF MATHEMATICAL ACTIVITY PACKAGE BY USING CONTEXT BASEDAPPROACH AND MATHEMATICAL MODELLING TO ENHANCE MATHEMATICAL CONNECTION ABILITY AND ATTITUDE TOWARDS MATHEMATICS OF NINTH GRADE STUDENTS
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การศึกษาคณิตศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Aumporn.M@Chula.ac.th,aumporn.m@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.768


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record