Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อน และหลังการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน (2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับ ความสามารถของผู้เรียนกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและความ คงทนในการเรียนของผู้เรียน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ผ่าน แท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) 2) แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) 3) แบบทดสอบความคงทนในการเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อชุดการ เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1) สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง 2 กลุ่มแบบไม่เป็นอิสระ การวิเคราะห์ความ แปรปรวนพหุแบบสองทาง โดยผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เรียนที่มีการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียน ผ่านชุดการเรียนฯ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ผู้เรียนที่มีการเรียนรู้ ผ่านแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียว มีค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 2. ระดับความสามารถและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=0.693, Sig= 0.504) 3. ผู้เรียนที่มีระดับความสามารถสูงมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงกว่ากลุ่มปานกลาง และกลุ่มต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้ฯ โดยพบว่าชุดการเรียนรู้มีคุณภาพในระดับดีมาก (M= 4.72, SD= 0.168) โดยด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) มีผลประเมินสูงสุด (M=5.00, SD=0.000) ขณะที่ด้านความเหมาะสม (Property), ด้านความถูกต้อง (Accuracy) และด้าน อรรถประโยชน์ (Utility) มีผลประเมิน M = 4.90, SD = 0.233, M = 4.72, SD = 0.129 และ M = 4.25, SD = 0.351 ตามลำดับ
ศึกษารายชื่อ ความถี่ เนื้อหาวิชา อายุ และภาษา ของวารสารที่ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2533-2545 และเปรียบเทียบรายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ กับรายชื่อวารสารที่มีให้บริการในหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า จากจำนวนวิทยานิพนธ์ทั้งสิ้น 178 เล่ม มีการอ้างถึงเอกสารโดยรวม 9,763 ครั้ง โดยเป็นการอ้างถึงวารสารจำนวน 2,785 ครั้ง (28.53%) โดยเป็นการอ้างถึงวารสารภาษาไทยจำนวน 821 ครั้ง (29.84%) และเป็นการอ้างถึงวารสารภาษาอังกฤษจำนวน 1,964 ครั้ง (70.52%) สำหรับรายชื่อสารสารภาษาไทยที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด ได้แก่ วารสารห้องสมุด และวารสารภาษาอังกฤษที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดได้แก่ College & Research Libraries ส่วนเนื้อหาวิชาของวารสารที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดได้แก่ เนื้อหาวิชากลุ่มงานบริการและกิจกรรม และวิทยานิพนธ์อ้างถึงวารสารที่มีอายุในช่วง 1-5 ปีมากที่สุด ในการเปรียบเทียบรายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ กับรายชื่อวารสารที่มีให้บริการในหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า จากวารสารทั้งหมดที่ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมกันจำนวน 603 ชื่อ หอสมุดกลางมีให้บริการจำนวน 287 ชื่อ (47.60%)