DSpace Repository

เทศน์มหาชาติล้านนา : ลักษณะเฉพาะทางดุริยางคศิลป์ที่พบในประเพณีศาสนา รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.author พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-10-31T07:14:41Z
dc.date.available 2018-10-31T07:14:41Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60509
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องเทศน์มหาชาติล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับประเพณีเทศน์มหาชาติในวัฒนธรรมล้านนาและเพื่อศึกษาวิเคราะห์ทำนองการเทศน์มหาชาติล้านนาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลภาคสนามในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๖ ร่วมกับการสัมภาษณ์พระนักเทศน์ชาวล้านนาทั้งหมด ๑๑ รูป การวิจัยบริบทที่เกี่ยวข้องพบว่าชาวล้านนานิยมจัดเทศน์มหาชาติในเดือนอ้ายไปจนถึงเดือนสี่ซึ่งชาวล้านนามีชื่อเรียกประเพณีนี้ว่าตั้งธรรมหลวง เนื้อหาเทศน์มหาชาติแสดงทศบารมีของพระเวสสันดรซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ด้วยความเชื่อเรื่องอานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติประเพณีนี้ยังคงมีความสำคัญในสังคมล้านนามาแต่ช้านาน จุดมุ่งหมายสูงสุดของการเข้าร่วมประเพณีจึงเป็นไปเพื่อการซาบซึ้งในรสพระธรรมและเพื่อรับอานิสงส์จากการฟังธรรม เป้าหมายรองคือการสร้างความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจกันในชุมชน ประเพณีการเทศน์มหาชาติของชาวล้านนามีเอกลักษณ์เฉพาะคือมีการสืบชะตา นอกเหนือไปจากความเพลิดเพลินใจจากการฟังทำนองเทศน์ที่ไพเราะจากพระนักเทศน์ที่มีกระแสเสียงดี ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเกิดรูปแบบการจัดงานเทศน์มหาชาติล้านนาในปัจจุบัน ๒ รูปแบบคือการเทศน์ประจำปีแบบดั้งเดิม และการจัดเทศน์มหาชาติแบบการสืบชะตาอายุ ผลการวิจัยพบว่าการใช้เสียงในเทศน์มหาชาติล้านนาเป็นความงามในพุทธศาสนาเพื่อสื่อสารความหมายและให้เกิดศรัทธาในธรรมของพระพุทธเจ้า เทศน์มหาชาติล้านนาเป็นการสวดของพระสงฆ์ครั้งละหนึ่งรูปซึ่งใช้ทำนองเฉพาะเรียกว่าระบำ จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่พบว่ามี ๗ ทำนองที่ยังปรากฏใช้ในเทศน์มหาชาติคือทำนองธรรมวัตร ทำนองไก่สับด้ง ทำนองม้าย่ำไฟ ทำนองมะนาวล่องของ ทำนองน้ำตกตาด ทำนองหมาไต่คันนาและทำนองพร้าวไกวใบ ทำนองทั้ง ๗ ทำนองแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือทำนองที่ใช้ในการเทศน์ทั่วไป และทำนองที่ใช้ในการเทศน์มหาชาติเท่านั้น ทำนองธรรมวัตรและทำนองไก่สับด้งเป็นทำนองที่ใช้เดินธรรม สามารถนำมาใช้เป็นทำนองเทศน์ทั้งในงานประเพณีตั้งธรรมหลวงและการเทศน์ทั่วไป ส่วนทำนองอีก ๕ ทำนองใช้เฉพาะในประเพณีตั้งธรรมหลวงเท่านั้นและมีการจัดแบ่งหน้าที่ของทำนองเพื่อสื่อความหมายแตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะทางดุริยางคศิลป์ในเสียงเทศน์มหาชาติล้านนาคือ การใช้ลมหายใจยาว การใช้ทำนองเฉพาะในเทศน์มหาชาติเท่านั้น การใช้เสียงเอื้อนยืดเสียง การใช้กลุ่มเสียงอ้างอิง และการคัดเลือกพระนักเทศน์เพื่อแบ่งระดับเสียงตามคุณลักษณะเสียงของพระนักเทศน์ en_US
dc.description.abstractalternative This research project aims to study the context of Maha Jataka Festival in the northern part of Thailand known as Lanna cultural area and to analyze its chanting melodies. The scope of the study focuses on the west Lanna cultural area including Chiengmai, Chiengrai, Lampang, and Lampoon. By employing qualitative research methodology, I conducted fieldwork between 2009 - 2013, observing two Maha Jataka festivals, and interviewing eleven chanting priests in Lanna. The Maha Jataka Festival in Lanna is knows as Dang Dham Laung festival. It is annually held from the first month until the fourth month. The chanting in this festival transmits the story of the Lord Buddha’s last life and his ten Parami. It remains one of the most popular activities in that Theravada Buddhists in Lanna believe that the experience of attending the Maha Jataka preaching would lead listeners to appreciate the Lord Buddha’s teachings and liberating oneself from sufferings as a primary objective of the festive convention. In addition, it also strengthens the community’s morale and spirit. The Maha Jataka Festival in Lanna is unique in that it incorporates the Suebchata ritual as part of the festival. It is therefore two categories of Lanna Maha Jataka Festival can be inferred: (1) annual Maha Jataka festival, and (2) Suebchata Maha Jataka Festival. Maha Jataka chanting is aesthetically and acoustically delivered by a solo male priest to mediate meanings of the teachings by designated melodies called Rabam. They are assigned to accompany to Maha Jataka chanting. Seven types of melodic chanting were found: (1) Dharmavaddha, (2) kai sub dong, (3) ma yam fai, (4) manao long khong, (5) nam tok tad, (6) ma tai kan na, and (7) prao kwai bai. The first two types of melodic preaching are used in both general Buddhist preaching and in the festival. The other five types are used in the contexts of the Maha Jataka festival only. In conclusion, Maha Jataka chanting in Lanna is characterized by its extended pitch-bending, extended breathing, melodic phrasing, specific appropriation of melodies, pitch referencing, and classifications of male priests’ vocal quality. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เทศน์มหาชาติ
dc.subject ไทย (ภาคเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
dc.title เทศน์มหาชาติล้านนา : ลักษณะเฉพาะทางดุริยางคศิลป์ที่พบในประเพณีศาสนา รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ en_US
dc.title.alternative Vessantara Jataka Preaching in Lanna Culture : Musical Characteristics in Religious Tradition en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Pornprapit.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record