Abstract:
ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทย และนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิด องค์กรอัจฉริยะของโรงเรียนเหล่าทัพ กลุ่มตัวอย่างประชากร ได้แก่ 1) ผู้บัญชาการโรงเรียนเหล่าทัพ จำนวน 3 ท่าน 2) ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกองและคณาจารย์ในโรงเรียนเหล่าทัพ จำนวน 265 ท่าน 3) นายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพต่างประเทศในปี พ.ศ. 2547-2553 จำนวน 18 ท่าน 4) ผู้บริหารระดับสูงบริษัทเอกชนที่เน้นการบริหารจัดการตามแนวคิดองค์กรอัจฉริยะ จำนวน 6 ท่าน 5) ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ จำนวน 31 ท่าน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางทหาร จำนวน 23 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ จำนวน 6 ท่าน ผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชน จำนวน 2 ท่าน 6) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ จำนวน 21 ท่าน 7) ผู้ทรงคุณวุฒิ โรงเรียนนายเรือ จำนวน 12 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิค EDFR แบบตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ และเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้มีการวิเคราะห์ในด้านต่างๆ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ 2) ด้านโครงสร้างองค์กร 3) ด้านการบริหารทั่วไปและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ 4) ด้านการบริหารวิชาการ 5) ด้านการบริหารงบประมาณ 6) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 7) ด้านการบริหารกิจการนักเรียนทหาร สำหรับผลการวิเคราะห์แนวคิดองค์กรอัจฉริยะ ประกอบด้วย 10 ข้อ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ร่วมและกลยุทธ์ที่ชัดเจน 2) โครงสร้าง องค์กรสนับสนุนต่อการเริ่มต้นใหม่ 3) การจัดการคุณภาพแบบองค์รวม 4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก 5) การบริหารทีมงานและสร้าง เครือข่าย 6) การจัดการเรียนรู้ในองค์กร 7) การมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสูง 8) การใช้ประโยชน์จากข้อมูลย้อนกลับ 9) การใช้ เทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถ และ 10) การสร้างนวัตกรรม 2. แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทยคือ โรงเรียนเหล่าทัพชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย ที่มีความเป็นเลิศทางวิทยาการทหารสมัยใหม่ และสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาการทางทหารอย่างต่อเนื่อง มีการปรับองค์กรในเชิงรุกและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เพื่อให้บุคลากรมีการพัฒนาและทุ่มเทศักยภาพเต็มที่ในการผลิตนายทหารที่มีความรู้ ความสามารถยึดมั่นในอุดมการณ์ของกองทัพและเพียบพร้อมทางคุณลักษณะผู้นำทางทหาร ที่สามารถปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงของชาติจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ 3. รูปแบบของการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ ประกอบด้วย 4 มิติ คือ มิติที่ 1 ผู้นำโรงเรียนเหล่าทัพ และวัฒนธรรมขององค์การทหาร มิติที่ 2 คุณลักษณะขององค์กรอัจฉริยะทางทหารมี 10 ประเด็น มิติที่ 3 การบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กร อัจฉริยะที่เรียกว่า V.I.S.I.O.N model ได้แก่ 1) การบริหารวิสัยทัศน์ 2) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) การปรับโครงสร้างองค์กร 4) การสร้างนวัตกรรม 5) การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลง 6) พันธมิตรในประเทศและต่างประเทศ และมิติที่ 4 กระบวนการบริหารจัดการมี 8 ขั้นตอน 4. อัตลักษณ์โรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทย (DNA) มี 6 ประการ (6S) คือ 1) จิตวิญญาณที่จะสร้างวิสัยทัศน์ร่วมและเปิดใจ ยอมรับสิ่งใหม่ๆ พร้อมอุดมการณ์รักชาติ (Spirit ) 2) ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลง (Speed) 3) ต้องรู้จักพัฒนาทักษะให้ทันกับ นวัตกรรม (Skill) 4) ปรับและประสานวิทยาการและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ให้สอดคล้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร (Synchronized) 5) ความปรารถนาที่จะเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง (Sustainable) 6) การตระหนักรู้ในการป้องกันเชิงรุกต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นทุกรูปแบบ (Sign)